การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของสายพันธุ์งาในประเทศไทยโดยการใช้เครื่องหมายโมเลกุลดีเอ็นเอ

Titleการประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของสายพันธุ์งาในประเทศไทยโดยการใช้เครื่องหมายโมเลกุลดีเอ็นเอ
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2552
Authorsสุรีพร เกตุงาม, สรศักดิ์ มณีขาว, สมใจ โควสุรัตน์
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSB299.S4 ส866
Keywordsความหลากหลายทางพันธุกรรม, งา--การปลูก, งา--พันธุ์, สายพันธุ์งา, โมเลกุลดีเอ็นเอ
Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อพันธุกรรมงาในประเทศไทย จำนวน 32 พันธุ์ ซึ่งประกอบด้วยพันธุ์พื้นเมือง 11 พันธุ์ พันธุ์รับรอง 11 พันธุ์ สายพันธุ์ดี 7 พันธุ์ และพันธุ์นำเข้าจากต่างประเทศ 3 พันธุ์ โดยการใช้เครื่องหมายโมเลกุลเอเอฟแอลพี จากการคัดกรองเอเอฟแอลพีไพรเมอร์ จำนวน 28 คู่ พบว่า มี 10 คู่ ที่ให้แถบดีเอ็นเอที่มีความแตกต่างชัดเจนและสามารถใช้เป็นเครื่องหมายเอเอฟแอลพีในการสร้างลายพิมพ์ดีเอ็นเอของเชื้อพันธุกรรมงาที่นำมาศึกษา โดยสามารถสร้างเครื่องหมายเอเอฟแอลพีได้จำนวน 240 เครื่องหมาย ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 245 เครื่องหมายต่อคู่เอเอฟแอลพีไพรเมอร์ ค่า polymorphic information content (PIC) มีค่าเฉลี่ย 0.27 26% ของเครื่องหมายเอเอฟแอลพีมีค่า PIC สูงอยู่ในช่วงระหว่าง 0.26 และ 0.30 แสดงให้ว่าเชื้อพันธุกรรมงาที่นำมาศึกษามีความหลากหลายทางพันธุกรรมค่อนข้างสูง ค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือนทางพันธุกรรมของ Dice (Dice?s similarity coefficients) มีค่าตั้งแต่ 0.33 ถึง 0.91 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.71 การจัดกลุ่มทางพันธุกรรมโดย UPGMA และ การวิเคราะห์ปัจจัยหลัก (principle component analysis, PCA) สามารถจัดกลุ่มเชื้อพันธุกรรมงาที่ศึกษาได้ 2 กลุ่ม ค่าผลรวมที่ได้จากการวิเคราะห์ ปัจจัยหลักสามปัจจัยแรกสามารถอธิบายความผันแปรทั้งหมดของการประเมินความเหมือนทางพันธุกรรมได้ 31 เปอร์เซ็นต์ การจัดกลุ่มโดยใช้ค่าความเหมือนทางพันธุกรรมนี้มีค่า cophenetic สูง (r=0.87) แสดงว่าการจัดกลุ่มนี้มีความเหมาะสม ผลจากการวิจัยพบว่า เชื้อพันธุกรรมงาที่นำมาศึกษาในครั้งนี้มีความหลากหลายทางพันธุกรรมค่อนข้างสูง

Title Alternate Assessing genetic diversity of oilseedd sesame (sesamum indicum L.) germplasm in Thailand based on DNA markers