ปัจจัยที่มีผลสำเร็จของโครงการกลุ่มอาชีพ OTOP : กรณีศึกษาการดำเนินงานกลุ่มอาชีพทอผ้าไหมบ้านสร้อยหมู่ที่ 10 ตำบลจานลาน อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ

Titleปัจจัยที่มีผลสำเร็จของโครงการกลุ่มอาชีพ OTOP : กรณีศึกษาการดำเนินงานกลุ่มอาชีพทอผ้าไหมบ้านสร้อยหมู่ที่ 10 ตำบลจานลาน อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2552
Authorsจริญญา นวลอินทร์
Degreeรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHD จ164ป
Keywordsกระบวนการผลิต, การมีส่วนร่วม, ความสำเร็จของกลุ่มอาชีพ, ผ้าไหม--การผลิต--อำนาจเจริญ, อุตสาหกรรมผ้าไหม--อำนาจเจริญ--การจัดการ
Abstract

กลุ่มอาชีพทอผ้าไหมบ้านสร้อย หมู่ที่ 10 ตำบลจานลาน อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2521 จนถึงปัจจุบันกลุ่มอาชีพนี้ได้พัฒนาการต่าง ๆ ดังนี้ จำนวนสมาชิกกลุ่มเพิ่มขึ้น วัสดุในการทอผ้าเปลี่ยนจากการใช้เส้นไหมที่ผลิตเองเป็นซื้อเส้นไหมจากโรงงานเนื่องจากไม่เพียงพอต่อการผลิต คณะกรรมการมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบออกเป็น 3 ฝ่าย เพื่อให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานยึดระเบียบกลุ่มเป็นหลัก ทุกคนเข้ามาเป็นสมาชิกด้วยความสมัครใจ กลุ่มมีการพัฒนาการบริหารจัดการอย่างมีระบบเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน จึงทำให้กลุ่มดำเนินกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่องมาได้เป็นระยะเวลาที่ยาวนานกว่า 30 ปี จนถึงปัจจุบัน
การดำเนินกิจกรรมของกลุ่มอาชีพทอผ้าไหมบ้านสร้อย สมาชิกจะจัดหาวัสดุด้วยตนเองและมีหน่วยงานทางราชการ องค์กรเอกชนเข้ามาสนับสนุน การผลิตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของกลุ่ม คณะกรรมการมีการบริหารงานด้วยความโปร่งใส มีการจัดทำเอกสารบัญชีต่าง ๆ ที่สามารถตรวจสอบได้ บางครั้งการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มมีปัญหาอุปสรรคบ้าง เช่น เส้นไหมซึ่งเป็นวัสดุในการผลิตไม่เพียงพอต่อการผลิต ก็จะซื้อเส้นไหมเพิ่มจากโรงงาน แบบลายผ้าไม่ทันสมัย และคุณภาพผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน เมื่อมีปัญหาจะมีการประชุมเพื่อแก้ไขทันที รวมทั้งมีการพูดคุยตัวต่อตัว การแนะนำ โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ส่วนตัวของคณะกรรมการบริหารกลุ่มอาชีพ ทำให้สมาชิกเกิดความศรัทธา และเชื่อมั่นในการบริหารงานของคณะกรรมการ กลุ่มจึงดำเนินงานมาได้เป็นระยะเวลาที่ยาวนานจนถึงปัจจุบัน
ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มอาชีพทอผ้าไหมเหมือนบ้านสร้อย เนื่องจากคณะกรรมการมีการบริหารจัดการอย่างมีระบบ สมาชิกมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน มีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาคราชการ และเอกชนควบคู่ไปกับการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานและผลิตภัณฑ์ของกลุ่มไปด้วย ทำให้มีตลาดรองรับผลิตภัณฑ์ ส่งผลให้กลุ่มและสมาชิกมีรายได้ มีอาชีพที่มั่นคง คุณภาพชีวิตของสมาชิกและครอบครัวกลุ่มอาชีพทอผ้าไหมบ้านสร้อยดีขึ้น
เพื่อให้การดำเนินงานของกลุ่มอาชีพทอผ้าไหมบ้านสร้อยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เจ้าหน้าที่ควรจัดประชุมสัมมนาให้กับกลุ่มเพื่อสร้างเครือข่ายกลุ่มอาชีพ คณะกรรมการควรประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อขอรับการสนับสนุนเรื่องการฝึกอบรมต่าง ๆ กลุ่มควรศึกษาเกี่ยวกับการผลิตเส้นไหมให้เพียงพอกับความต้องการในการผลิตผ้าไหมของกลุ่ม และต้องตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน พัฒนากรผู้ประสานงานตำบลควรมีการนำสมาชิกไปทัศนศึกษาดูงานการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ ของกลุ่มอื่น เพื่อใช้เป็นข้อมูลเสนอแนะต่อกรมการพัฒนาชุมชน ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตที่ 3 สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอและเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนที่เกี่ยวข้องทุกระดับ ผู้สนใจทั่วไป เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนากลุ่มอาชีพทอผ้าไหมบ้านสร้อยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อเป็นข้อมูลในการส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มอาชีพอื่น ๆ ต่อไป

Title Alternate The factors in the achievement of OTOP project case study titled : the performance of Thai Silk Textile at Baan Soi, Village No.10, Janlan Sub-District, Phana District, Amnatcharoen Province