ความต้องการโปรตีนของโคพื้นเมืองไทยในช่วงหลังหย่านมถึงอายุ 18 เดือน

Titleความต้องการโปรตีนของโคพื้นเมืองไทยในช่วงหลังหย่านมถึงอายุ 18 เดือน
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2550
Authorsเสรีไทย เสนาราษฎร์
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSF ส928
Keywordsการเลี้ยงโคพื้นเมือง, ความต้องการโปรตีน, โคพื้นเมือง, โคพื้นเมือง--อาหาร
Abstract

วัตถุประสงค์ของการทดลอง คือ เพื่อศึกษาความต้องการโปรตีนเพื่อการดำรงชีพ (protein requirement for maintenance) และเพื่อการเจริญเติบโต (protein requirement for growth) ของโคพื้นเมืองที่มีน้ำหนักตัวระหว่าง 80-120 กิโลกรัม อายุอยู่ในช่วงหลังหย่านมตั้งแต่ 7 ถึง 8 เดือน แบ่งออกเป็น 2 การทดลอง ดังนี้ การทดลองที่ 1) ศึกษาความต้องการโปรตีนเพื่อการดำรงชีพ โดยวิธีการวัดความสมดุลไนโตรเจน (nitrogen balance) ใช้โคพื้นเมืองไทยจำนวน 16 ตัว เพศผู้ ที่มีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 105?9.3 กิโลกรัม อายุเฉลี่ย 11?2 เดือน วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก (Randomized Complete Block Design, RCBD) แบ่งโคออกเป็น 4 กลุ่ม (replication) กลุ่มละ 4 ตัว (treatment) ให้โคได้รับอาหารหยาบ คือ หญ้ามูลาโท II (CIAT 36087) แห้ง และเสริมอาหารข้น (สัดส่วนอาหารหยาบ : อาหารข้น 60:40) ได้กำหนดปริมาณอาหารโดยให้โคทุกตัวกินในปริมาณคงที่เท่ากันที่ระดับ 2.5% ของน้ำหนักตัว และได้มีการกำหนดทรีทเมนต์ให้โคได้รับโปรตีน (protein intake) 4 ระดับ คือ T1=08M, T2=1.0M, T3=1.2M และ T4=1.4M ตามคำแนะนำของ NRC 1996 (update 2000) (1.0M=5.3gCP/kgBW0.75/ตัว/ วัน) วิเคราะห์ปริมาณการกักเก็บไนโตรเจนในร่างกาย ระหว่างปริมาณไนโตรเจนที่ได้รับและไนโตรเจนที่ขับออกจากมูลและปัสสาวะ โดยใช้สมการรีเกรสชั่น หุ่นจำลองแบบเส้นตรง (A general linear model) และสหสัมพันธ์ (correlation) ผลการทดลองพบว่า ปริมาณไนโตรเจนที่ขับออกทางมูลไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) แต่มีปริมาณไนโตรเจนที่ขับออกทางปัสสาวะแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) เมื่อนำมาหาความสัมพันธ์ระหว่างไนโตรเจนที่กักเก็บได้และไนโตรเจนที่ได้รับ โดยสมการรีเกรสชั่น ได้สมการ Y= -0.1101+0.1582 N intake (R2=0.92, SE=0.002, P<0.05) จากสมการดังกล่าวอธิบายได้ว่าค่าความต้องการไนโตรเจนเพื่อการดำรงชีพที่ได้มีค่าเท่ากับ 0.70 gN/kgBW0.75 หรือคิดในรูปโปรตีน เท่ากับ 4.36 gCP/kgBW0.75 และต่ำกว่าคำแนะนำของ NRC 1996 (update 2000) เท่ากับ 17.74%
การทดลองที่ 2) ศึกษาความต้องการโปรตีนเพื่อการเจริญเติบโต โดยศึกษาการตอบสนองด้านการเจริญเติบโต (feeding trial) ใช้โคพื้นเมืองไทย (ชุดเดียวกันกับงานทดลองที่ 1) จำนวน 16 ตัว ที่มีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 112?12 กก. อายุเฉลี่ย 15?2 เดือนวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก (RCBD) ได้แบ่งโคออกเป็น 4 กลุ่ม (replication) ใหม่ จากการทดลองที่ 1 ตามน้ำหนักตัว กลุ่มละ 4 ตัว (treatment) ให้โคได้รับอาหารหยาบเช่นเดียวกันกับการทดลองที่ 1 แล้วเสริมอาหารข้น (สัดส่วนอาหารหยาบ : อาหารข้น 60:40) กำหนดปริมาณอาหารโดยให้โคทุกตัวกินในปริมาณคงที่เท่ากันเพิ่มขึ้นจากความต้องการโปรตีนเพื่อการดำรงชีพช่วงละ 25% จาก NRC 1996 (update 2000) ซึ่งมี 4 ระดับ ได้แก่ T1=1.0M, T2=1.25M, T3=1.50M และ T4=1.75M ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 89 วัน ผลการทดลองพบว่า โคมีอัตราการเจริญเติบโตแตกต่างกันทางสถิติ (P<0.05) โดยพบว่าโคมีอัตราการเจริญเติบโตสูงขึ้นตามระดับโปรตีนที่ได้รับ (31?21 และ 132?46 กรัม/วัน, ใน T1-T4 ตามลำดับ) อย่างไรก็ตามอัตราการเจริญเติบโตที่ได้จากการทดลองในครั้งนี้ยังมีค่าที่ต่ำ ทั้งนี้อาจเนื่องจากว่าได้จำกัดพลังงานที่กิน จึงทำให้พลังงานและไนโตรเจนไม่สมดุล

Title Alternate Protein requirements of Thai native cattle from weaning to 18 months of age