ตำนานท้าวบาเจียง-นางมะโลง : ภาพสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างลาวลุ่มกับลาวเทิง แขวงจำปาสัก ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Titleตำนานท้าวบาเจียง-นางมะโลง : ภาพสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างลาวลุ่มกับลาวเทิง แขวงจำปาสัก ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2554
Authorsสันติ โสภา
Degreeศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์และการพัฒนา
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberDS ส583
Keywordsจำปาสัก--ประวัติศาสตร์, ตำนาน, ตำนาน--ลาว, ท้าวบาเจียง-นางมะโลง, ลาว--ประวัติศาสตร์, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว--ประวัติศาสตร์
Abstract

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลาวลุ่มกับลาวเทิง แขวงจำปาสัก ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ผ่านตำนานเรื่องท้าวบาเจียง-นางมะโลง โดยการศึกษาและรวบรวมตำนานจากการบอกเล่าของชาวบ้าน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มลาวเทิงและกลุ่มลาวลุ่ม ตลอดจนกระบวนการรื้อฟื้นอัตลักษณ์ท้าวบาเจียง-นางมะโลงภายใต้บริบทของการท่องเที่ยว จากการศึกษาพบว่าสำนวนของตำนานท้าวบาเจียง-นางมะโลงที่ปรากฏในพื้นที่แขวงจำปาสักนั้น แยกออกเป็น 3 สำนวนด้วยกัน คือ สำนวนของลาวลุ่ม สำนวนของลาวเทิง และสำนวนของรัฐ ทั้งนี้ในส่วนของสำนวนของลาวเทิงนั้น มีปรากฏทั้งในชนเผ่าละแวและชนเผ่าแงะ อันสะท้อนให้เห็นว่าดินแดนบริเวณนี้มีความหลากหลายของกลุ่มชนและชาติพันธุ์ต่าง ๆ แม้จะมีความแตกต่างกันในเชิงชาติพันธุ์ วัฒนธรรม แต่ก็มิได้แยกตัวเองอยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่มีการติดต่อสังสรรค์ สัมพันธ์กันมาตลอดระยะเวลายาวนาน แสดงให้เห็นว่าตำนานเรื่องนี้สะท้อนถึงบูรณาการทางสังคมของกลุ่มชนต่าง ๆ ในพื้นที่วัฒนธรรมร่วมกัน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเนื้อหาของตำนานที่ปรากฏในกลุ่มชนลาวลุ่มและลาวเทิงจะมีโครงเรื่องคล้าย ๆ กัน แต่หากวิเคราะห์ในเชิงเนื้อหาแล้ว กลับพบว่ามีการเดินเรื่องที่ต่างกัน ซึ่งสัมพันธ์กับการจัดกลุ่มกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างสองกลุ่มชนหลักในพื้นที่ คือ ลาวลุ่มกับลาวเทิง ด้วยเหตุนี้ตำนานเรื่องนี้จึงจัดเป็นเครื่องมือในการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสองด้วย
นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบว่า ภายใต้บริบทของการท่องเที่ยวและการรุกคืบของกระแกเศรษฐกิจแบบการตลาดเพื่อให้เป็น สินค้าทางวัฒนธรรม อาทิการแสดงหมอลำ กลอนลำและบทเพลงต่าง ๆ โดยเฉพาะในปี ค.ศ. 1999-2000 รัฐได้แสดงบทบาทอย่างชัดเจนในการเข้ามาจัดการรื้อฟื้นตำนานเรื่องท้าวบาเจียง-นางมะโรง โดยนำเนื้อหาของตำนานไปเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์และลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแขวงจำปาสัก ด้วยการดำเนินนโยบายรื้อฟื้นตำนานและขบวนแห่ขันหมากท้าวบาเจียงขึ้นมาใหม่ ในงานพิธีเปิดปีท่องเที่ยวลาวงานมหกรรมเฉลิมฉลองวัดภูมรดกโลก และงานพิธีสำคัญต่าง ๆ รวมถึงการสร้างอนุสรณ์สถาน (รูปปั้น) ของท้าวบาเจียง-นางมะโลงและไหเหล้า ณ บริเวณภูส่าเหล้าเพื่อผลด้านการท่องเที่ยว

Title Alternate Thao Bachieng-Nang Malong legend: reflections of relationships between Lao Loum (Lowland Lao) and Laoterng (Highland Lao) in Champasak province, Lao PDR
Fulltext: