การประยุกต์ใช้โครงข่ายประสาทเทียมในการคาดคะเนอัตราผลิตผลองค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กกึ่งสำเร็จรูป

Titleการประยุกต์ใช้โครงข่ายประสาทเทียมในการคาดคะเนอัตราผลิตผลองค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กกึ่งสำเร็จรูป
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2552
Authorsโชคชัย ไตรยสุทธิ์
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQA ช813
Keywordsอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก, โครงข่ายประสาทเทียม, โปรแกรมคอมพิวเตอร์--การออกแบบ
Abstract

วิทยานิพนธ์ เรื่อง การประยุกต์ใช้โครงข่ายประสาทเทียมในการคาดคะเนอัตราผลิตผลองค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กกึ่งสำเร็จรูป ประยุกต์ใช้โครงข่ายประสาทเทียมแบบ Back propagation ที่มีหนึ่งชั้นแฝงคาดคะเนผลิตผลองค์อาคารคอนกรีตกึ่งสำเร็จรูป เสา และ คาน ชั้นข้อมูลของทั้งสองโครงข่ายมี 14 ตัวแปร ได้จากแบบบันทึกการทำงานที่นัยต่ออัตราผลิตผล ประกอบด้วย ชั่วโมงแรงงาน ชั่วโมงแรงงานล่วงเวลา ค่าแรง ค่าแรงล่วงเวลา ทักษะช่าง ซีเมนต์มวลรวมหยาบ มวลรวมละเอียด น้ำ หน่วยผลิตคอนกรีต รถบรรทุกขนาดสองลูกบาศก์เมตร รถบรรทุกขนาดห้าลูกบาศก์เมตร ปริมาณพื้นผิวปาดเรียบของเสา และปริมาณพื้นผิวปาดเรียบของคาน ใช้เป็นตัวแปรอิสระ ตัวอย่างที่ใช้สอนและทดสอบมีทั้งสิ้น 42 ชุด ได้จากบันทึกการทำงานใช้อัตราการเรียนรู้ระหว่างชั้นข้อมูลและชั้นแฝง 0.1 และชั้นแฝงถึงชั้นผลลัพธ์มีค่า 0.02 โมเมนตัม 0.7 ใช้ Trans-Axon function การสอนโครงข่ายประสาทเทียมทุก ๆ 1000 รอบเพื่อหาค่า MSE ต่ำสุดพบว่าปรากฏที่ 14,000 Epoch โดย MSE มีค่าเท่ากับ 0.009399345 ส่วนทดสอบระบบมีความผิดพลาดมีค่าระหว่าง 0.76-3.26 ณ 2,000-12,000 Epoch สำหรับการคาดคะเนอัตราผลผลิตคาน และระหว่าง 3.82-39.64 ณ 7,000-14,000 Epoch สำหรับคาดคะเนอัตราผลผลิตเสา ตามลำดับ การคาดคะเนอัตราผลผลิตโดยใช้ระบบโครงข่ายประสาทเทียมมีความแม่นยำเพียงพอที่จะใช้งานได้ การปรับปรุงระบบให้มีีความแม่นตรงมากขึ้นมีการกระทำโดยการสอนและทดสอบระบบด้วยข้อมูลจำนวนมากขึ้น

Title Alternate Application of artificial neural networks to predict productivity of prefabricated structural component