การพัฒนาเครื่องมือช่วยประเมินความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยา กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงของผู้ป่วยใน

Titleการพัฒนาเครื่องมือช่วยประเมินความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยา กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงของผู้ป่วยใน
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2551
Authorsธนิดา ศรีธัญรัตน์
Degreeเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิกและการบริหาร
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRM ธ261ก
Keywordsการจ่ายยา, การสั่งยา, การใช้ยา, บริการทางเภสัชกรรม, ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง, ยา, เครื่องมือช่วยประเมินความคลาดเคลื่น
Abstract

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาเครื่องมือ ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการประเมินความคลาดเคลื่อนในการสั่งใช้ยากลุ่มที่มีความเสี่ยงของผู้ป่วยใน ทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเทียบกับผลการทำงานปกติของกลุ่มงานเภสัชกรรมโดยการประเมินคำสั่งใช้ยาแบบย้อยหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยจำนวน 693 คำสั่ง จากผู้ป่วยในจำนวน 583 ราย ที่ใช้ยากลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมและศัลยกรรมจำนวน 4 หอผู้ป่วยในช่วงเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2550
ผลการศึกษาพบว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นช่วยให้พบคำสั่งใช้ยาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดความคลาดเคลื่อน 122 คำสั่ง มากกว่าการใช้ไม่ใช้โปรแกรม ซึ่งพบเพียง 1 ครั้ง ในช่วงเวลาเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) และจากการศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในภาคปฏิบัติงาน โดยจับเวลาที่ใช้ในการประเมินคำสั่งยา พบว่ามีค่าเฉลี่ยเวลาที่ใช้เป็น 2:14 นาที ต่อการประเมิน 1 รายการ และการประเมินความพึงพอใจในการใช้งาน จากการตอบแบบสอบถามโดยเภสัชกร จำนวน 12 คน พบว่า คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากในหัวข้อความถูกต้องของข้อมูลและความเหมาะสมของฐานข้อมูลที่ใช้, ความถูกต้องและสมบูรณ์ของหัวข้อที่ประเมิน, ความสามารถของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการช่วยป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยากลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงก่อนถึงตัวผู้ป่วย และ ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้งานโดยรวม ส่วนหัวข้อการประเมินที่ได้คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ รูปแบบและความสวยงาม, ความเหมาะสมของระยะเวลาที่ใช้ในการทำงาน, ความยากง่ายในการใช้งาน และความเป็นไปได้ในการใช้สำหรับปฏิบัติงาน จึงควรมีการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพิ่มเพื่อให้ใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้ต่อไป

Title Alternate Development of instrument for evaluating and detecting high alert drugs prescribing errors in inpatient