การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการถูกบุกรุกในอุทยานแห่งชาติภูจอง -นายอย จังหวัดอุบลราชธานี

Titleการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการถูกบุกรุกในอุทยานแห่งชาติภูจอง -นายอย จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2551
Authorsสุมิตร ช้อยเพ็ง
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศการเกษตรและพัฒนาชนบท
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSD ส843
Keywordsการจัดการป่าไม้, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์, อุทยานแห่งชาติ--ไทย(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย, อุบลราชธานี
Abstract

การบุกรุกป่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ คือ สาเหตุสำคัญประการหนึ่งของปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรป่าไม้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อการถูกบุกรุก เพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงต่อการบุกรุก โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และปัจจัยต่าง ๆ ที่นำมาศึกษา ได้แก่ (1) ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (2) ความลาดชัน (3) ระยะห่างจากแม่น้ำ (4) ระยะห่างจากเส้นทางคมนาคม (5)ระยะห่างจากหมู่บ้าน (6) ลักษณะทางธรณีวิทยา (7) ลักษณะทางปฐพีวิทยา แล้วมาซ้อนทับกับข้อมูลพื้นที่ป่าไม้ที่ถูกบุกรุกในปี พ.ศ.2544 พ.ศ. 2547 และ พ.ศ.2550
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการถูกบุกรุก ได้แก้ ระยะห่างจากเส้นทางคมนาคม และความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการถูกบุกรุกปานกลางได้แก้ ลักษณะทางปฐพีวิทยา และระยะห่างจากหมู่บ้าน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการถูกบุกรุกต่ำ ได้แก่ ระยะห่างจากแม่น้ำ ลักษณะทางธรณีวิทยา และความลาดชัน เมื่อวิเคราะห์พื้นที่ป่าที่อยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการถูกบุกรุกในระดับความเสี่ยงต่าง ๆ พบว่า พื้นที่ป่าที่เสี่ยงต่อการถูกบุกรุกสูงมีพื้นที่ประมาณ 2.00 ตร.กม. หรือคิดเป็นร้อยละ 0.34 พื้นที่ป่าที่เสี่ยงต่อการถูกบุกรุกปานกลางมีพื้นที่ประมาณ 37.27 ตร.กม. หรือ คิดเป็นร้อยละ 6.38 และพื้นที่ป่าที่เสี่ยงต่อการถูกบุกรุกต่ำ มีพื้นที่ประมาณ 544.98 ตร.กม. หรือคิดเป็นร้อยละ 93.28

Title Alternate Geographic information system application to determine encroachment risk area in Phu Chong-Na Yoi national park in Ubon Rachathanee province