การเพิ่มผลผลิต : กรณีศึกษาโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป จังหวัดอุบลราชธานี

Titleการเพิ่มผลผลิต : กรณีศึกษาโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2556
Authorsวิลาสินี ศิริธร
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTS ว722
Keywordsการจัดการอุตสาหกรรม, การวางแผนการผลิต, การเพิ่มผลผลิตทางอุตสาหกรรม, อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม, เสื้อผ้าสำเร็จรูป--การผลิต, โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป
Abstract

วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้คือ การปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตในกระบวนการเย็บของโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปในจังหวัดอุบลราชธานี จากการศึกษาพบว่า เวลาที่ใช้ในการเปลี่ยนรุ่นการผลิตใช้เวลานาน ทำให้เกิดความสูญเปล่าในการรอคอย ปัญหาจากวิธีการทำงานของพนักงานที่ยังไม่เหมาะสม ทำให้เกิดความไม่สมดุลของสายการผลิต และปัญหาคุณภาพที่เกิดขึ้นในสายการผลิต
ดังนั้นผู้วิจัยได้ทำการปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตของผลิตภัณฑ์ 2 รุ่น คือ รุ่น 419883 และ รุ่น 329362 โดยทำการวิเคราะห์และพัฒนาวิธีการปรับตั้งเครื่องจักรอย่างรวดเร็ว (Single Minute Exchange of Die: SMED) เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป ซึ่งเรียกวิธีการนี้ว่า ?Apparel SMED? เพื่อลดเวลาในการเปลี่ยนรุ่นการผลิตลง จากนั้นทำการวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงวิธีการทำงานของพนักงานโดยใช้หลักการศึกษางานและหลักการ ECRS เพื่อขจัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นและทำให้สามารถลดเวลาในการทำงานในแต่ละขั้นตอนลงและเพื่อให้เกิดการปรับเรียบและสมดุลของสายการผลิตมากขึ้น นอกจากนั้นมีการนำเอาเครื่องมือทางคุณภาพบางส่วนมาใช้ทำการวิเคราะห์เพื่อลดปัญหาทางด้านคุณภาพที่เกิดขึ้นในสายการผลิต
ผลการวิจัยพบว่า ในผลิตภัณฑ์รุ่น 419883 สามารถลดเวลาในการเปลี่ยนรุ่นการผลิตจากเดิมใช้เวลา 120 นาทีลดลงเหลือ 9 นาที คิดเป็นร้อยละ 92.5 ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิม 21 ตัวต่อชั่วโมงเป็น 25 ตัวต่อชั่วโมง จำนวนขั้นตอนการผลิตลดลงจาก 29 ขั้นตอนเป็น 27 ขั้นตอน รอบเวลามาตรฐานในการทำงานลดลงจากเดิม 35.28 นาทีต่อตัว เป็น 27.38 นาทีต่อตัว และคุณภาพของผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 83 เป็นร้อยละ 88 และสำหรับผลิตภัณฑ์รุ่น 329362 ก็จะมีผลการศึกษาที่ใกล้เคียงกัน คือ เวลาในการเปลี่ยนรุ่นการผลิตลดลงจากเดิม 100 นาที ลดลง 8 นาที คิดเป็นร้อยละ 92 ผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 31 ตัวต่อชั่วโมงเป็น 45 ตัวต่อชั่วโมง จำนวนขั้นตอนการทำงานลดลงจาก 19 ขั้นตอน เป็น 18 ขั้นตอน รอบเวลามาตรฐานการทำงานลดลงจาก 21.52 นาที ต่อตัวเป็น 14.92 นาทีต่อตัว และคุณภาพของผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 78 เป็นร้อยละ 85

Title Alternate Productivity improvement :\bA case study in apparel factory at Ubon Ratchathani
Fulltext: