ความสัมพันธ์ของปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จในการประยุกต์ใช้ระบบบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ

Titleความสัมพันธ์ของปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จในการประยุกต์ใช้ระบบบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2554
Authorsสราวุธ พรทิพย์
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTS ส355ค
Keywordsการควบคุมกระบวนการผลิต, การควบคุมคุณภาพ, การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ, ปัจจัยความสำเร็จ, ระบบบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จกับความสำเร็จขององค์การในการประยุกต์ใช้ระบบบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ (Total Quality Management) ประชากรคือองค์การที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award) และรางวัลบริหารสู่ความเป็นเลิศ (Thailand Quality Class) จากสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ทั้งนี้ได้ศึกษารูปแบบตามโครงสร้างเกณฑ์รับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ เพื่อกำหนดปัจจัยสู่ความสำเร็จประกอบด้วย การนำองค์กร การมุ่งเน้นลูกค้าและการตลาด การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การมุ่งเน้นบุคลากร การจัดการกระบวนการ การวัดวิเคราะห์และการจัดการความรู้ ผลลัพธ์ทางธุรกิจ และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง งานวิจัยนี้ใช้แบบทดสอบที่ผ่านกระบวนการตรวจสอบความเที่ยงตรงที่ระดับ 0.932 ได้รับแบบสอบถามกลับมาจำนวน 384 ชุด และวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในส่วนการวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการประยุกต์ใช้ระบบบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ ใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) จากงานวิจัย พบว่า ปัจจัยความสัมพันธ์ภายในที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงที่สุดต่อความสำเร็จทางธุรกิจ (Y) นั้นเป็นความสำพันธ์ของตัวแปรด้านการมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด (X5) เท่ากับ .626
เมื่อวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ พบว่า การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล และการวัด วิเคราะห์และการจัดการความรู้มีความสัมพันธ์สูงเกินไปจึงเลือกตัวแปรการมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคลเข้าสู่การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเนื่องจากมีความสัมพันธ์ต่อตัวแปรตามสูงกว่า
เมื่อวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยวิธี Stepwise พบว่าปัจจัยทางด้านการมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ส่งผลทางบวกต่อความสำเร็จในการประยุกต์ใช้ระบบบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ มีค่า ? เท่ากับ 0.401 0.264 และ 0.194 ตามลำดับ ตัวแปรพยากรณ์ทั้งสามสามารถพยากรณ์ความสำเร็จในการประยุกต์ใช้ระบบบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การได้ร้อยละ 52.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Title Alternate Relationship of critical success factors for implementation of total quality management
Fulltext: