การเปรียบเทียบความสามารถการดูดซับ-กำจัดคราบน้ำมันของตัวดูดซับชีวภาพ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาใช้เป็นทุ่นลอยเพื่อการเก็บกวาดคราบน้ำมัน

Titleการเปรียบเทียบความสามารถการดูดซับ-กำจัดคราบน้ำมันของตัวดูดซับชีวภาพ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาใช้เป็นทุ่นลอยเพื่อการเก็บกวาดคราบน้ำมัน
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2552
Authorsประสงค์สม ปุณยอุปพัทธ์
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTD424.4 ป391
Keywordsการดูดซับ, น้ำมัน--การบำบัด, น้ำเสีย--การกำจัด, มลพิษทางน้ำ--ผลกระทบจากน้ำมัน
Abstract

ศึกษาความสามารถในการดูดซับคราบน้ำมันเบนซีนและน้ำมันดีเซลโดยวัสดุชีวภาพ 3 ชนิด ได้แก่ เส้นผม แกลบ และใบสน ในน้ำจืดและน้ำทะเลที่อุณหภูมิ 20 25 และ 30 องศาเซลเซียสตามลำดับโดยวัดค่าความสามารถในการดูดซับโดยวิธี Grease and oil (Standard methods for the examination of water and wastewater: method 5502) พบว่าวัสดุดูดซับสามารถดูดซับคราบน้ำมันที่อุณหภูมิต่าง ๆ ได้ใกล้เคียงกัน คือ สามารถดูดซับคราบน้ำมันอยู่ในช่วงร้อยละ 48.04-50.03 โดยน้ำหนัก จากผลการดูดซับพบว่าใบสนสามารถให้การดูดซับที่ดีที่สุดโดยให้ค่าการดูดซับคราบเฉลี่ยร้อยละ 48.78 และ 49.18 โดยน้ำหนักในน้ำมันเบนซีนและน้ำมันดีเซลตามลำดับ ในขณะที่เส้นผมและแกลบให้ค่าดูดซับคราบน้ำมันรองลงมาตามลำดับ เมื่อนำวัสดุทั้ง 3 ชนิดมาทำเป็นทุ่นลอยเพื่อควบคุมการขยายของคราบน้ำมันในน้ำจืดและน้ำทะเลพบว่า ทุ่นลอยสามารถควบคุมการขยายตัวของคราบน้ำมันเบนซีนได้ดีกว่าคราบน้ำมันดีเซล โดยพบว่าทุ่นลอยสามารถควบคุมการขยายตัวของคราบน้ำมันเบนซีนให้อยู่ในวงของทุ่นลอยได้เป็นเวลานานประมาณ 20-30 นาที และสามารถควบคุมการขยายตัวของคราบน้ำมันดีเซลให้อยู่ในวงของทุ่นได้เพียง 5-10 นาที

Title Alternate Comparison of the effectiveness of bio-absorber as skimmers for oil spill cleanup