การศึกษาคุณลักษณะพื้นฐานของลำพุ่งเชื้อเพลิงเหลวที่มีความเร็วมากกว่าเสียง และความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้กับหัวฉีดของเครื่องยนต์โดยทำการทดลอง

Titleการศึกษาคุณลักษณะพื้นฐานของลำพุ่งเชื้อเพลิงเหลวที่มีความเร็วมากกว่าเสียง และความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้กับหัวฉีดของเครื่องยนต์โดยทำการทดลอง
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2553
Authorsกุลเชษฐ์ เพียรทอง, ประชาสันติ ไตรยสุทธิ์, ชวลิต ถิ่นวงศ์พิทักษ์, วุฒิชัย สิทธิวงษ์, วิระพันธ์ สีหานาม
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTJ795 ก725
KeywordsHigh-speed liquid fuel spray, projectile impact driven method, shock wave, รถยนต์--เครื่องยนต์--ระบบหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง, เครื่องยนต์ดีเซล--ระบบเชื้อเพลิง, เชื้อเพลิงเหลว--การเผาไหม้
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของลำพุ่งความเร็วสูง (high-speed diesel fuel jets) เมื่ออุณหภูมิและความดันในห้องทดสอบเพิ่มขึ้น โดยใช้การถ่ายภาพความเร็วสูงและเทคนิค shadowgraph การทดลองจะทำการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในช่วง 30-150 องศาเซลเซียส ความดันภายในห้องทดสอบ ในช่วง 1-8.2 bar เปรียบเทียบความเร็วและระยะแหวกอากาศ (penetration distance) ของลำพุ่งเชื้อเพลิงดีเซลความเร็วสูงกับสภาวะบรรยากาศ (30 องศาเซลเซียส, 1 bar) ลำพุ่งเชื้อเพลิงดีเซลที่ความเร็วสูง จะผลิตจากวิธีการที่เรียกว่า Projectile impact driven ความเร็วของลูกปืน (Projectile) ประมาณ 800 m/s หัวฉีดทรงกรวยมุม 30 องศาเซลเซียส ขนาดคอคอด (orifice diameter) 0.7 mm
จากผลการทดลองพบว่าอุณหภูมิมีผลต่อความเร็วและระยะแหวกอากาศของลำพุ่งของเชื้อเพลิงดีเซล คือ ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ความดันบรรยากาศ ลำพุ่งของน้ำมันดีเซลมีความเร็วสูงสุดประมาณ 1400 m/s และระยะแหวกอากาศ ได้ 230 mm ที่เวลา 299 ?s กรณีที่อุณหภูมิห้องทดสอบสูงขึ้น ความเร็วเริ่มต้นของลำพุ่งจะต่ำลง เกิดการแตกตัว (atomization) ของเม็ดเชื้อเพลิงอย่างชัดเจน ส่วนกรณีที่เพิ่มความดันในห้องทดสอบ ความเร็วของลำพุ่งจะลดลงอย่างต่อเนื่อง

Title Alternate Fundamental study on characteristic of high-speed liquid fuel spray and its application in engine fuel injection: the experimental investigation