ประสิทธิผลของนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษา ศึกษาเฉพาะกรณี โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในอำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5

Titleประสิทธิผลของนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษา ศึกษาเฉพาะกรณี โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในอำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2555
Authorsสกุลลักษณ์ เหล่าบุรี
Degreeรป.ม (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberLB ส128
Keywordsนโยบายการศึกษา, โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา--การบริหาร, โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา--อุบลราชธานี
Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษา และปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษา ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 14 โรงเรียน ในอำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 126 คน กลุ่มที่ 2 ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 200 คน รวมทั้งหมด 326 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนและการเปรียบเทียบพหุคุณ ตรวจสอบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ตามวิธี LSD และการวิเคราะห์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อันดับและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า
1.ประสิทธิผลของนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในอำเภอนาจะหลวย ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านเป้าหมายของนโยบายมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านความพึงพอใจต่อประสิทธิผลของนโยบาย และด้านผลผลิตของนโยบายตามลำดับ
2.ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในอำเภอนาจะหลวย ด้านปัจจัยนำเข้าและปัจจัยด้านกระบวนการเกี่ยวกับประสิทธิผลของนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษา อยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยด้านกระบวนการมีระดับมากกว่าปัจจัยนำเข้า
3.ผู้บริหารและครูที่มีเพศ อายุ วุฒิการศึกษา ตำแหน่ง อายุราชการ ระยะเวลาที่โรงเรียนเปิดเป็นโรงเรียนขยายโอกาสที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษาตามเป้าหมายของนโยบายในภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่ผู้บริหารและครูที่มีวุฒิการศึกษาที่แตกต่างกัน ผู้ปกครองที่มีระยะทางจากบ้านถึงโรงเรียน และการเดินทางมาโรงเรียนของนักเรียนที่แตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่อประสิทธิผลของนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4.ปัจจัยนำเข้าด้านสภาพภูมิศาสตร์ สภาพทางเศรษฐกิจ ไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษาในด้านเป้าหมายและความพึงพอใจ แต่ปัจจัยนำเข้าด้านการคมนาคมและความร่วมมือของชุมชน มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษาในด้านเป้าหมายและความพึงพอใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่ปัจจัยด้านกระบวนการมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษาตามเป้าหมายของนโยบายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยด้านที่มีความสัมพันธ์มากที่สุด คือ ด้านวิชาการ และด้านที่มีความสัมพันธ์น้อยที่สุด คือ ด้านกิจการงานนักเรียน

Title Alternate The effectiveness of educational expansion opportunity policy: a case study of education expansion opportunity schools in Nachaluai district, Ubon Ratchathani province, under the Ubon Ratchathani primary educational service area office 5
Fulltext: