อิทธิพลการสั่นสะเทือนของลูกหินขัดข้าวต่อปริมาณการแตกหักของข้าวหอมมะลิ 105 ด้วยเครื่องสีข้าวขนาดเล็ก

Titleอิทธิพลการสั่นสะเทือนของลูกหินขัดข้าวต่อปริมาณการแตกหักของข้าวหอมมะลิ 105 ด้วยเครื่องสีข้าวขนาดเล็ก
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2554
Authorsรังสรรค์ ไชยเชษฐ์
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ)
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTS ร314
Keywordsการสีข้าว, เครื่องสีข้าว
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ ศึกษาอิทธิพลการสั่นสะเทือนของลูกหินขัดข้าวต่อปริมาณการแตกหักของข้าวหอมมะลิ 105 ด้วยเครื่องสีข้าวขนาดเล็ก ซึ่งปัจจุบันเครื่องสีข้าวขนาดเล็กนิยมใช้กันมากในชุมชน เนื่องมาจากการใช้งานที่ไม่ซับซ้อน ราคาถูก การบำรุงรักษาที่ง่าย แต่อย่างไรก็ตาม การสีข้าวด้วยเครื่องสีข้าวขนาดเล็กมีปริมาณการแตกหักของข้าวสารจำนวนมาก ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของข้าวสาร การดำเนินงานวิจัยนี้ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการแตกหักของข้าวสารจำนวนมาก ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของข้าวสาร การดำเนินงานวิจัยนี้ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการแตกหักของข้าวสารและการสั่นสะเทือนของลูกหินขัดข้าว โดยทำการติดตะกั่วถ่วงเพื่อเพิ่มน้ำหนักในลูกหินขัดข้าวจาก 5,10,15,20,25 และ 30 กรัม ลูกหินปกติมีการสั่นสะเทือนประมาณ 1.70 มิลลิเมตรต่อวินาที มีการแตกหักของข้าวสารเฉลี่ยร้อยละ 28.27 จากการทดลองพบว่า การสั่นสะเทือนแปรผันตรงกับน้ำหนักตะกั่วที่เพิ่มขึ้น การสั่นสะเทือนมากที่สุด ประมาณ 2.23 มิลลิเมตรต่อวินาที (30 กรัม) ทำให้เกิดการแตกหักมากที่สุดเฉลี่ยร้อยละ 31.57 จากนั้น ทำการทดลองเปรียบเทียบระหว่างลูกหินขัดที่ปรับสมดุลและไม่ปรับสมดุล โดยใช้ลูกหินที่ขึ้นรูปด้วยมือและขึ้นรูปด้วยเครื่องหล่อเหวี่ยงมาปรับสมดุลด้วยเทคนิคการสมดุลแบบสถิต ผลการทดลองพบว่า ลูกหินขัดข้าวที่หล่อด้วยเครื่องหล่อเหวี่ยงปรับสมดุล มีการสั่นสะเทือนที่ต่ำที่สุดร้อยละ 1.28 มิลลิเมตรต่อวินาที และให้ปริมาณการแตกหักต่ำที่สุดในการทดลองเฉลี่ยร้อยละ 15.34 จึงสรุปได้ว่า หากปริมาณของการสั่นสะเทือนเพิ่มขึ้น การแตกหักจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การปรับสมดุลลูกหินขัดข้าวที่ขึ้นรูปหล่อด้วยมือสามารถลดการสั่นสะเทือนได้สูงสุดร้อยละ 13.63 และหล่อด้วยเครื่องหล่อเหวี่ยงลดได้สูงสุดร้อยละ 11.40 อย่างไรก็ตาม ลูกหินขัดที่หล่อด้วยเครื่องเหวี่ยงปรับสมดุลจะมีการสั่นสะเทือนต่ำกว่าลูกหินที่หล่อด้วยมือปรับสมดุล และมีการแตกหักของข้าวสารต่ำกว่าคิดเป็นร้อยละ 24 นอกจากนี้ยังพบว่า ความเร็วรอบของลูกหิน มีอิทธิพลต่อการสั่นสะเทือน กล่าวคือ เมื่อความเร็วรอบสูง การสั่นสะเทือนจะสูงขึ้น แต่ความเร็วรอบที่ให้ปริมาณข้าวหักต่ำสุดมีค่าเท่ากับ 1420 รอบต่อนาที

Title Alternate Effect of vibration of the rice polishing cylinder on the percentage of broken Hom-Mali 105 rice in a small rice mill
Fulltext: