Monte Carlo simulation on the effect of air mass above the princess Sirindhorn neutron monitor to atmospheric neutrons from cosmic rays

TitleMonte Carlo simulation on the effect of air mass above the princess Sirindhorn neutron monitor to atmospheric neutrons from cosmic rays
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2012
AuthorsDumrongsak Rodphothong
DegreeMaster of Science (Major in physics)
InstitutionFaculty of Science
CityUbon Ratchathani
Call NumberQA D896
KeywordsCosmic rays, Monte Carlo method
Abstract

สถานีตรวจวัดอนุภาคนิวตรอนเป็นกุญแจสำคัญ สำหรับการศึกษาการเปลี่ยนแปลงตามเวลาของรังสีคอสมิกที่มาจากภายนอกแกแลกซี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบที่มาจากดวงอาทิตย์ เครื่องตรวจวัดรังสีคอสมิกที่อยู่ภายในชั้นบรรยากาศของโลกนั้น ไม่สามารถที่จะบันทึกปริมาณอนุภาครังสีคอสมิกได้โดยตรง เนื่องจากอนุภาคที่เรียกว่ารังสีคอสมิกปฐมภูมิจะเกิดอันตรกิริยากับนิวเคลียสในชั้นบรรยากาศทำให้เกิดเป็นอนุภาคทุติยภูมิขึ้นมา ซึ่งสถานีตรวจวัดนิวตรอนสามารถทำการตรวจวัดและบันทึกปริมาณของอนุภาคนิวตรอนทุติยภูมิที่มาจากการแตกตัวในชั้นบรรยากาศนี้ สถานีตรวจวัดนิวตรอนสิรินธรถูกติดตั้งในบริเวณที่มีค่าริจิดิตีแนวดิ่งสูงถึง 16.8 กิกะโวลต์ ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลใหม่ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานของอนุภาคกับการเปลี่ยนแปลงของปริมาณรังสีในขณะที่ดวงอาทิตย์กำลังหมุนรอบตัวเอง แอนไอโซโทรปีของรังสีคอสมิก การลดแบบฟอร์บุช และการเปลี่ยนแปลงตามวัฏจักรของดวงอาทิตย์ สำหรับงานวิจัยนี้เราได้ใช้วิธีการจำลองแบบมอนติคาร์โลโดยได้จำลองผลกระทบจากโครงสร้างชั้นบรรยากาศที่มีต่อปริมาณอนุภาคนิวตรอนทุติยภูมิเหนือสถานีตรวจวัดนิวตรอนสิรินธรโดยใช้โปรแกรมฟลุคา ซึ่งทำให้เข้าใจในกระบวนการที่เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศได้ดี อีกทั้งจะทำให้ทราบการตอบสนองของระบบวัดต่ออนุภาคนิวตรอนทุติยภูมิ ในการศึกษานี้ทำให้ทราบข้อมูลและวิธีการเพื่อการวิเคราะห์ในขั้นต่อไป และมีความเข้าใจที่ดีขึ้นในผลกระทบดังกล่าว

Title Alternate การจำลองผลกระทบของมวลอากาศเหนือสถานีตรวจวัดนิวตรอนสิรินธรต่ออนุภาคนิวตรอนในบรรยากาศจากรังสีคอสมิกโดยวิธีมอนติคาร์โล
Fulltext: