การพัฒนาเมตาฮิวริสติกเพื่อแก้ปัญหาการเลือกสถานที่ตั้งและจัดเส้นทางการขนส่งสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตแป้งมันสำปะหลังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

Titleการพัฒนาเมตาฮิวริสติกเพื่อแก้ปัญหาการเลือกสถานที่ตั้งและจัดเส้นทางการขนส่งสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตแป้งมันสำปะหลังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2554
Authorsฐิติวรดา คำแหน
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ)
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHD ฐ361
Keywordsการขนส่ง--การจัดการ--ไทย(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), มันสำปะหลัง--การขนส่ง--ไทย(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), อุตสาหกรรมันสำปะหลัง--การขนส่ง--ไทย(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
Abstract

ในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยได้ทำการพัฒนาวิธีฮิวริสติกที่เรียกว่า วิธีอาณานิคมมด (Ant Colony Optimization; ACO) ที่เลียนแบบพฤติกรรมการหาอาหารของมด สำหรับการแก้ปัญหาการเลือกตำแหน่งที่ตั้งโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังที่เหมาะสมพร้อมทั้งจัดเส้นทางการขนสินค้าและวัตถุดิบ ขั้นตอนของวิธีอาณานิคมมดแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งเป็นการหาผลเฉลยของปัญหาการเลือกสถานที่ตั้งซึ่งก็คือตำแหน่งที่ตั้งโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง และส่วนที่สองเป็นการหาผลเฉลยของปัญหาการจัดเส้นทางการขนส่ง (Vehicle Routing Problem; VRP) โดยคำตอบของปัญหาการจัดเส้นทางการขนส่งนี้จะสัมพันธ์กับตำแหน่งที่ตั้งของโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง สำหรับการปรับปรุงคำตอบของปัญหาการจัดเส้นทางการขนส่งนั้นจะประยุกต์ใช้วิธีการค้นหาคำตอบ 3 วิธี ได้แก่ การย้ายตำแหน่ง, การสลับเปลี่ยนตำแหน่ง และการสลับสองตำแหน่ง
ผู้วิจัยได้ทำการหาตำแหน่งที่ตั้งโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังที่เหมาะสมพร้อมทั้งจัดเส้นทางการขนส่งสินค้าและวัตถุดิบ 6 กรณี ด้วยกัน คือ 1)โรงงานแป้งมันสำปะหลังทำการผลิตเต็มกำลังการผลิตและไม่มีข้อจำกัดด้านระยะทางการขนส่ง คำตอบของกรณีนี้คือ ตำแหน่งที่ตั้งของโรงงานควรอยู่ที่ ตำบลเมืองเดช อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี และระยะทางรวมในการขนส่งเป็น 26,092.1 กิโลเมตร 2)โรงงานแป้งมันสำปะหลังทำการผลิตเต็มกำลังการผลิตและกำหนดระยะทางในการขนส่งของรถขนส่งไม่เกิน 800 กิโลเมตรต่อวัน โดยตำแหน่งที่ตั้งของโรงงานคือ ตำแหน่งเดียวกันกับกรณีที่ 1 ซึ่งมีระยะทางรวมในการขนส่งเป็น 24,319.9 กิโลเมตร 3)โรงงานแป้งมันสำปะหลังทำการผลิตร้อยละ 80 ของกำลังการผลิตโดยไม่มีข้อจำกัดด้านระยะทางขนส่งโดยตำแหน่งที่ตั้งของโรงงานคือ ตำแหน่งเดียวกันกับกรณีที่ 1 ซึ่งมีระยะทางรวมในการขนส่งเป็น 21,265.4 กิโลกรัม 4) โรงงานแป้งมันสำปะหลังทำการผลิตร้อยละ 80 ของกำลังการผลิตและกำหนดระยะทางในการขนส่งของรถขนส่งไม่เกิน 800 กิโลเมตรต่อวัน โดยตำแหน่งที่ตั้งของโรงงานคือ ตำบลบุเปือย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี และระยะทางรวมในการขนส่งเป็น 17,168.9 กิโลเมตร 5)โรงงานแป้งมันสำปะหลังทำการผลิตร้อยละ 50 ของกำลังการผลิตและกำหนดระยะทางในการขนส่งของรถขนส่งไม่เกิน 800 กิโลเมตร ต่อวัน โดยตำแหน่งที่ตั้งของโรงงานคือ ตำบลเก่าขาม อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีระยะทางรวมในการขนส่ง 10,942 กิโลเมตรและ 6)โรงงานแป้งมันสำปะหลังทำการผลิตร้อยละ 50 ของกำลังการผลิต และกำหนดระยะทางในการขนส่งของรถขนส่งไม่เกิน 800 กิโลเมตรต่อวัน โดยตำแหน่งที่ตั้งของโรงงานคือ ตำแหน่งเดียวกันกับกรณีที่ 5 ซึ่งมีระยะทางรวมในการขนส่งเป็น 8,832.26 กิโลเมตร

Title Alternate Development of meta-heuristics to solve the localtion routing problem for the tapioca industry in Northeast Thailand