การดูดซับตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์โดยใช้ถ่านกัมมันต์มูลโค

Titleการดูดซับตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์โดยใช้ถ่านกัมมันต์มูลโค
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2553
Authorsเทียมชัย บัวลอย
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม)
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTD ท751
Keywordsการดูดซับ, คาร์บอนกัมมันต์, น้ำเสีย--การบำบัด, น้ำเสีย--การบำบัด--การกำจัดโลหะหนัก, มูลสัตว์, โลหะหนัก--การวิเคราะห์
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดูดซับตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์โดยใช้ถ่านกัมมันต์มูลโค ในการศึกษานี้จะทำการสังเคราะห์ถ่านกัมมันต์มูลโค โดยทำการคาร์บอไนซ์ (Carbonization) ที่อุณหภูมิ 600 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 1 ชั่วโมง และกระตุ้น (Activation) ด้วยซิงค์คลอไรดฺ (ZnCl2) ที่อุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง จากนั้นนำถ่านกัมมันต์มูลโคที่ได้มาดูดซับตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์เพื่อศึกษาเวลาเข้าสู่สมดุลในการดูดซับ พบว่าการดูดซับเริ่มเข้าสู่สมดุลที่เวลา 120 นาที จากนั้นนำมาศึกษาไอโซเทอร์มและประสิทธิภาพการดูดซับ จากการศึกษาไอโซเทอร์มพบว่า การดูดซับของแลงเมียร์ให้ค่าการดูดซับสูงสุด (qm) เท่ากับ 4.314 มิลลิกรัมต่อกรัม และไอโซเทอร์มการดูดซับของฟรุนด์ลิช สามารถอธิบายการดูดซับได้ดีกว่าของแลงเมียร์ (R2=0.9895, R2=0.9583) และจากการศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับ พบว่า ถ่านกัมมันต์มูลโค 0.10 กรัม มีประสิทธิภาพในการกำจัดตะกั่ว 82.03 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้นศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดูดซับ ได้แก่ ความเข้มข้นเริ่มต้นและพีเอช พบว่าที่เวลาในการดูดซับ 60 นาที เปอร์เซ็นต์การดูดซับมีแนวโน้มลดลงเมื่อความเข้มข้นเริ่มต้นเพิ่มขึ้น ในขณะที่เปอร์เซ็นต์การดูดซับจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามปริมาณตัวดูดซับ และพีเอชที่เหมาะสมในการดูดซับ คือ 4, 5 และ 6 และจากการศึกษา พบว่า เปอร์เซ็นการกำจัดมีค่าอยู่ในช่วง 75-100 เปอร์เซ็นโดยประมาณ ยกเว้นที่พีเอช 2 และ 3 มีเปอร์เซ็นต์การกำจัดต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมกับน้ำเสียจริงจากโรงงานอุตสาหกรรมต่อไป

Title Alternate Adsorption of lead in synthetic wastewater using cow dung activated carbon
Fulltext: