ประชาธิปไตยกับการมีส่วนร่วมของสภานักเรียน : กรณีศึกษาสภานักเรียนโรงเรียนกันทรารมณ์ อำเภอกันทรารมณ์ จังหวัดศรีสะเกษ

Titleประชาธิปไตยกับการมีส่วนร่วมของสภานักเรียน : กรณีศึกษาสภานักเรียนโรงเรียนกันทรารมณ์ อำเภอกันทรารมณ์ จังหวัดศรีสะเกษ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2553
Authorsนุชิต ศุภพินิจ
Degreeรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการปกครอง)
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberJC น729
Keywordsการบริหารโรงเรียน--ศรีสะเกษ, ประชาธิปไตย--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)--ศรีสะเกษ, ประชาธิปไตย--ศรีสะเกษ, สภานักเรียน
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยการมีส่วนร่วมของสภานักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนกันทรารมณ์ ที่มีแผนการเรียนที่แตกต่างกัน คือ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ ? คณิตศาสตร์ และแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-ศิลปศึกษา จำนวน 50 ข้อ กลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินการอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.41 โดยมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ย 3.58 รองลงมา คือ สมาชิกให้ความสำคัญกับการเข้าร่วมประชุมสภานักเรียน และเข้าร่วมประชุมวางแผนการดำเนินงานของสภานักเรียนพร้อมเพรียงกัน เพื่อจัดลำดับก่อนหลังร่วมกัน ระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.55 ส่วนค่าเฉลี่ยการมีส่วนร่วมในการวางแผนน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ย 3.04 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t-test ผู้ศึกษาใช้ระเบียบวิธีเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผลการวิจัยโดยสรุปเป็นดังนี้
1.ความเห็นโดยเฉลี่ยของนักเรียนที่เป็นคณะกรรมการนักเรียน ในโรงเรียนกันทรารมณ์ที่มีต่อความต้องการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับประชาธิปไตยในสภานักเรียน
2.ผลการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นของนักเรียนที่เป็นคณะกรรมการสภานักเรียนเกี่ยวกับความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมในการดำเนินการในกิจกรรมต่าง ๆ ในโรงเรียน พบว่า นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อความต้องการการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากทุกกลุ่ม ยกเว้นกลุ่มที่แยกตามเพศ ซึ่งพบว่านักเรียนหญิงมีความคิดเห็นต่อความต้องการการมีส่วนร่วมในประชาธิปไตยกับการมีส่วนร่วมมากกว่านักเรียนชาย
3.ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความเห็นโดยรวมของนักเรียนต่อการมีส่วนร่วมของประชาธิปไตยกับการมีส่วนร่วมของสภานักเรียน พบว่า มีความแตกต่างมีนัยสำคัญทางสถิติซึ่งจำแนกตามการมีส่วนร่วมตามความต้องการ มีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงาน มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล พบว่า
3.1 นักเรียนที่เรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จะมีความสนใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของสภานักเรียนในรูปแบบประชาธิปไตยมากกว่านักเรียนที่เรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-ศิลปศึกษา
3.2 นักเรียนที่เรียนแผนการเรียนที่เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีความสนใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของสภานักเรียนในรูปแบบประชาธิปไตยมากกว่า นักเรียนที่เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
3.3 นักเรียนที่มีผลการเรียนดีมากมีความสนใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของสภานักเรียนในรูปแบบประชาธิปไตยน้อยกว่านักเรียนที่มีผลการเรียนปานกลาง
3.4 นักเรียนที่มีผลการเรียนน้อยมีความสนใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของสภานักเรียนในรูปแบบประชาธิปไตยน้อยกว่าที่มีผลการเรียนปานกลาง

Title Alternate Democracy and participation of student council : a case study of Kanthararom school of Kanthararom district in Sisaket province
Fulltext: