การคัดเลือกแบคทีเรียกรดแลกติกเพื่อเป็นโปรไบโอติกที่มีศักยภาพจากอาหารหมัก

Titleการคัดเลือกแบคทีเรียกรดแลกติกเพื่อเป็นโปรไบโอติกที่มีศักยภาพจากอาหารหมัก
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2553
Authorsณิชาภา อาจเอี่ยม
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQR ณ432
Keywordsกรดแล็กติก, อาหารหมักดอง, แบคทีเรียกรดแล็กติก, โพรไบโอติก
Abstract

การคัดเลือกและแยกแบคทีเรียกรดแลกติกจากผลิตภัณฑ์อาหารหมักต่าง ๆ จำนวน 80 ตัวอย่าง ได้เชื้อแบคทีเรียกรดแลกติกจำนวน 108 ไอโซเลท เมื่อทดสอบความสามารถในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ทดสอบที่ก่อโรค จำนวน 4 ชนิด คือ Escherichia coli ATCC 25922 Staphylococcus aureus ATCC 25923 Salmonella typhimurium DMST 0562 และ Bacillus subtilis TISTR 6633 ด้วยวิธี agar diffusion และทดสอบความสามารถในการย่อยแป้ง โปรตีน และไขมัน พบว่าแบคทีเรียกรดแลกติกที่สามารถยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ทดสอบได้ทั้ง 4 ชนิด มีจำนวน 57 ไอโซเลท แต่เชื้อทั้ง 108 ไอโซเลท มาทดสอบความสามารถในการทำกรด-เบส ที่ pH 2 3 4 5 6 และ 8 และความสามารถในการทนเกลือน้ำดีความเข้มข้น 0.15% และ 0.30% ที่เวลา 0-3 ชั่วโมง ด้วยวิธี agar plate count พบว่า เชื้อแบคทีเรียกรดแลกติกทุกไอโซเลทไม่สามารถทนความเป็นกรดที่ pH 2 ได้ แต่มีเชื้อแบคทีเรียกรดแลกติก จำนวน 8 ไอโซเลท คือ P29C3 P33A P36A P40C P50B P53B และ P70 สามารถทนความเป็นกรดที่ pH 3 ได้นานมากกว่า 1 ชั่วโมง และสามารถทนต่อเกลือน้ำดีได้ทั้งความเข้มข้น 0.15% และ 0.30% โดยมีอัตราการรอดชีวิตร้อยละ 80-90 ในชั่วโมงที่ 3 เมื่อนำเชื้อทั่ง 8 ไอโซเลท ไปทดสอบความสามารถในการเกาะติดเซลล์เยื่อบุทางเดินอาหารชนิด Caco-2 พบว่า เชื้อ P23C3 มีอัตราการเกาะติดสูงสุดตามด้วย P70 P36A P40C P50B P43D P53B และ P33A ตามลำดับ จากการศึกษานี้จึงสรุปได้ว่าเชื้อ P29C3 มีคุณสมบัติที่สามารถนำไปพัฒนาเป็นโปรไบโอติกและอีก 3 ไอโซเลท ที่มีคุณสมบัติรองลงมาคือ P70 P36A และ P40C ควรที่จะสามารถพัฒนาเป็นโปรไบโอติกได้ในอนาคตต่อไป

Title Alternate Selection of lactic acid bacteria for potential probiotics from fermented food
Fulltext: