การเพิ่มประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเตาแก๊สหุงต้มในครัวเรือนโดยฝาครอบเตาแก๊สชนิดวัสดุพรุน

Titleการเพิ่มประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเตาแก๊สหุงต้มในครัวเรือนโดยฝาครอบเตาแก๊สชนิดวัสดุพรุน
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2553
Authorsจรินทร์ เจนจิตต์
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTS จ166
Keywordsการประหยัด, ประสิทธิภาพเชิงความร้อน, ฝาครอบเตาแก๊สชนิดวัสดุพรุน, มลพิษ, เตา, เตาแก๊สหุงต้มในครัวเรือน
Abstract

การศึกษาวิจัยในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเตาแก๊สหุงต้มในครัวเรือน ที่มีปริมาณการใช้แก๊สแอลพีจี (Liquefied Petroleum Gas, LPG) สูงสุดไม่เกิน 5.78 kW ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 2312-2549 โดยทำการออกแบบและสร้างฝาครอบเตาแก๊สชนิดวัสดุพรุน (Porous Radiant Recalculated Cover, PRRC) ซึ่งอาศัยหลักการหมุนเวียน (Heat-Recirculating Combustion) จากไอเสียของเตาแก๊สหุงต้มกลับมาใช้ในการอุ่นอากาศก่อนการเผาไหม้เพื่อเพิ่มอุณหภูมิของอากาศที่ใช้ในการเผาไหม้จึงส่งผลให้ประสิทธิภาพเชิงความร้อนสูงขึ้น ฝาครอบเตาแก๊สชนิดวัสดุพรุนดังกล่าวมีลักษณะเด่น คือ สามารถใช้งานกับภาชนะหุงต้มได้หลายขนาดและหลายรูปร่าง รวมทั้งใช้งานได้สะดวกและง่ายโดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนหรือดัดแปลงเตาแก๊สหุงต้มเดิมจึงไม่ส่งผลกระทบต่อมาตรฐานของเตาแก๊สหุงต้ม ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาอิทธิพลของตัวแปรต่าง ๆ คือ Firing rate (Fr), Emitting porous medium (EP), Absorbing porous medium (AP) และชนิดของภาชนะหุงต้มรวมทั้งเปรียบเทียบการประหยัดพลังงานกับเทคนิคอื่น ต่อประสิทธิภาพเชิงความร้อน (Thermal efficiency) โดยทดสอบตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 2312-2549 ด้วยวิธีต้มน้ำ (Boiling test) และวัดอุณหภูมิที่ตำแหน่งต่าง ๆ รวมทั้งวัดปริมาณมลพิษที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ จากการทดสอบพบว่าเตาแก๊สหุงต้มในครัวเรือน (HB) ทั่วไปมี Thermal efficiency สูงสุดมีค่าเป็นร้อยละ 41 ขณะที่เตาแก๊สที่ติดตั้งฝาบังลมของกระทรวงพลังงาน (LPG-FP) มีค่า Thermal efficiency สูงสุดมีค่าเป็นร้อยละ 39 และเตาแก๊สที่ติดตั้ง PRRC (EP4+ AP4) มีค่า Thermal efficiency สูงสุดมีค่าเป็นร้อยละ 48 ซึ่งคิดเป็นการประหยัดร้อยละ 14.58 นอกจากนี้ยังพบว่าหากเพิ่มหรือลดความหนาของวัสดุพรุนที่ติดตั้งในฝาครอบ PRRC เป็น PRRC(EP2+ AP2) และ PRRC(EP6+ AP6) พบว่า Thermal efficiency สูงสุดมีค่าลดลงเป็นร้อยละ 38 และ 32 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าการติดตั้ง PRRC ที่ไม่เหมาะสมจะทำให้ Thermal efficiency ลดต่ำลงและเมื่อทดสอบอิทธิพลของ Emitting porous medium (EP) และ Absorbing porous medium (AP) พบว่า เตาแก๊สที่ติดตั้ง PRRC(EP4+AP0) มี Thermal efficiency สูงสุดมีค่าเป็นร้อยละ 54 คิดเป็นการประหยัดเท่ากับ 30.19% โดยอัตราการปลดปล่อยมลพิษไม่เกิน 320 ppm. และ 80 ppm. สำหรับ CO และ NOx ตามลำดับ และหากติดตั่ง Absorbing porous medium (AP) เพียงอย่างเดียว PRRC(EP0+AP4) ทำให้ Thermal efficiency สูงสุดมีค่าเป็นร้อยละ 48 คิดเป็นการประหยัดร้อยละ 14.58 และมีการปลดปล่อยมลพิษไม่เกิน 160 ppm. และ 85 ppm. สำหรับ CO และ NOx ตามลำดับ เมื่อทำการทดสอบการใช้งานร่วมกับภาชนะชนิดต่าง ๆ พบว่า เตาที่ติดตั้ง PRRC(EP4+AP4) ใช้งานร่วมกับหม้อเบอร์ 16 cm. ทำให้ Thermal efficiency สูงสุดเท่ากับร้อยละ 26 เตาที่ติดตั้ง PRRC(EP4+AP4), PRRC(EP0+AP4) ใช้งานร่วมกับหม้อเบอร์ 18 cm. ทำให้ Thermal efficiencyสูงสุดเท่ากับร้อยละ 54 และเตาที่ติดตั้ง PRRC(EP4+AP0) ใช้งานร่วมกับกระทะ 33 cm. ทำให้ Thermal efficiency สูงสุดเท่ากับร้อยละ 36 โดยการติดตั้ง PRRC จะทำให้ปริมาณ CO และ NOx สูงไม่เกิน 320 ppm., 110 ppm. ตามลำดับ

Title Alternate Thermal effecienve improvement at household cooking burner by porous radiant recalculated cover
Fulltext: