การประยุกต์ใช้แผนผังสายธารคุณค่าในการเพิ่มประสิทธิภาพของโซ่อุปทานมันสำปะหลังในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางของประเทศไทย

Titleการประยุกต์ใช้แผนผังสายธารคุณค่าในการเพิ่มประสิทธิภาพของโซ่อุปทานมันสำปะหลังในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางของประเทศไทย
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2555
Authorsปัญญา สังวาลคำ
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHD ป524ก
Keywordsการบริหารงานโลจิสติกส์, การวางแผนการผลิต, มันสำปะหลัง--การตลาด, อุปทานและอุปสงค์
Abstract

งานวิจัยนี้นำเสนอการประยุกต์ใช้ตัวแบบอ้างอิงดำเนินงาน (Supply Chain Operation Reference Model: SCOR Model) เพื่อให้ทราบถึงห่วงโซ่อุปทานมันสำปะหลังในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางและประยุกต์ใช้แผนผังสายธารคุณค่า (Value Stream Mapping: VSM) เพื่อวิเคราะห์ความสูญเปล่าในห่วงโซ่อุปทาน ผลการศึกษาโดยตัวแบบอ้างอิงดำเนินงานทำให้ทราบว่าการไหลในโซ่อุปทานมีจำนวน 4 สายการไหล สายการไหลที่ 1 เริ่มที่ เกษตรกร-ลานมัน-โรงมันอัดเม็ด การไหลสายที่ 2 เริ่มที่ เกษตรกร-ลานมัน-โรงงานแป้งมัน การไหลสายที่ 3 เริ่มที่ เกษตรกร-โรงมันอัดเม็ด และการไหลสายที่ 4 เริ่มที่เกษตรกร-โรงงานแป้งมัน จากนั้นใช้แผนสายธารคุณค่ามาประยุกต์ใช้เพื่อวิเคราะห์ความสูญเปล่าในการไหลแต่ละสายการไหลสามารถลดเวลาในแต่ละสายการไหลได้ ดังนี้ สายที่ 1 เวลาลดลง 2977 นาที หรือลดลงร้อยละ 15.16 สายที่ 2 เวลาลดลง 2343 นาที หรือลดลงร้อยละ 17.30 สายที่ 3 เวลาลดลง 2829 นาที ลดลงร้อยละ 16.08 และสายที่ 4 เวลาลดลง 2283 นาที ลดลงร้อยละ 17.67 และเวลาที่ลดลงดังกล่าวจะส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของห่วงโซ่อุปทานมันสำปะหลังในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางของประเทศไทย

Title Alternate The application of value stream mapping to increase effeciency of cassava supply chain in Central Area of Northeast Thailand
Fulltext: