การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกในแหล่งท่องเที่ยวเขตอำเภอโขงเจียมจังหวัดอุบลราชธานี

Titleการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกในแหล่งท่องเที่ยวเขตอำเภอโขงเจียมจังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2554
Authorsอรรชนา สิทธิชัย
Degreeศิลปประยุกต์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์
Institutionคณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHF อ344
Keywordsการออกแบบผลิตภัณฑ์--อุบลราชธานี, ของที่ระลึก--อุบลราชธานี, สินค้า--อุบลราชธานี, อุบลราชธานี--ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
Abstract

การวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทงานหัตถกรรมสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกในเขตอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี 2) ศึกษาศักยภาพชุมชนเกี่ยวกับความพร้อมทั้งในด้านวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น ภูมิปัญญาดั้งเดิมและความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ระลึกในรูปแบบใหม่ ๆ 3)ศึกษาแนวทางในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกทั้งในลักษณะการพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมและการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของท้องถิ่น โดยกำหนดขอบเขตการศึกษาไว้ 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านกุ่ม บ้านตามุย และบ้านท่าล้ง ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ผลการดำเนินงาน ทั้ง 3 หมู่บ้าน สรุปได้ว่า บ้านกุ่มมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 33 คน บ้านตามุย มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 38 คน และบ้านท่าล้ง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 65 คน รวมทั้งสิ้น 136 คน ผลการดำเนินงาน พบว่า หมู่บ้านทั้ง 3 แห่ง มีสิ่งที่เหมือนกันใน 3 ประการ คือ 1)มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในทุกหมู่บ้านมีความงดงามใกล้เคียงกัน 2) ชาวบ้านมีความรักท้องถิ่นผูกพัน รักใคร่ สามัคคี 3)มีความต้องการที่จะพัฒนางานอาชีพโดยเฉพาะงานที่สามารถทำได้ในท้องถิ่น โดยอาศัยทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นสำหรับความแตกต่างของทั้ง 3 หมู่บ้าน มี 3 ประการ คือ 1)มีความรู้ความถนัดในการผลิตงานหัตถกรรมแตกต่างกัน เช่น บ้านกุ่มมีความถนัดในการทอผ้าฝ้ายและงานเถาวัลย์ บ้านตามุยปัจจุบันไม่มีงานหัตถกรรมและบ้านท่าล้งมีชื่อเสียงจากงานจักสานกระติบข้าวเหนียวโดยใช้ติวไม้ไผ่ 2)ภาษาพูด มีความใกล้เคียงกันใน 2 หมู่บ้าน และที่แตกต่าง คือ บ้านท่าล้ง ซึ่งเป็นชาวบรูที่ใช้ภาษาพูด 2 ภาษา ทั้งภาษาอีสานและภาษาบรู 3)การประกอบอาชีพ เนื่องจากทุกหมู่บ้านมีปัญหาทางด้านพื้นที่ที่จำกัดเพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหุบเขามีโขดหินจำนวนมากอีกด้านหนึ่งเป็นแม่น้ำโขงทำให้การทำเกษตรไม่สามารถทำได้เต็มที่จึงมีการทำประมงในทุกพื้นที่ จากการจัดประชุมระดมความคิดเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบว่าแต่ละแห่งมีความคิดเห็นที่น่าสนใจในหลายประเด็น โดยความคิดเห็นต่าง ๆ ได้นำมาวิเคราะห์เป็นรายหมู่บ้านเพื่อจัดอบรมศึกษาแนวทางในการพัฒนาอาชีพ โดยนำศักยภาพชุมชนที่มีอยู่มาเป็นส่วนสำคัญในการสร้างรูปแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกและผลจากการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ของแต่ละหมู่บ้าน พบว่า มีความแตกต่างตามความถนัดของแต่ละหมู่บ้าน หลังจากนั้นจัดให้มีการประเมินผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อวิเคราะห์ถึงจุดบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไขศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตเพื่อการจำหน่าย

Title Alternate Development of souvenir products in tourist attractions of Khongjiam district, Ubon Ratchathani
Fulltext: