การสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์แบรนด์เกาหลีของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง และอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Titleการสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์แบรนด์เกาหลีของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง และอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2554
Authorsอุมาพร ขจรวิทย์
Degreeบริการธุรกิจมหาบัณฑิต
Institutionคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHF อ846
Keywordsการตลาดอินเตอร์เน็ต, การสื่อสารทางการตลาด--อุบลราชธานี, พฤติกรรมผู้บริโภค--อุบลราชธานี, สินค้าแบรนด์เนม--เกาหลี
Abstract

การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษาการสื่อสารการตลาด (IMC) ที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์แบรนด์เกาหลีของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง และอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-30 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพรัยราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 5000 ? 10000 บาท/เดือน การตัดสินใจซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์แบรนด์เกาหลีโดยรวมของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีผลมาจากการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการส่วนใหญ่ให้ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน ขณะที่ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลในทุกด้านไม่ได้มีผลที่แตกต่างกันในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค โดยการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญ คือ ด้านการโฆษณาของสื่อประเภทโทรทัศน์ และด้านการส่งเสริมการขายให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการขายที่ลดราคาของสินค้ามากที่สุด การขายโดยพนักงานขาย ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับมนุษย์สัมพันธ์ของพนักงานขายในระดับสูง ด้านการประชาสัมพันธ์ ในเรื่องของความโดดเด่นในการออกร้านจำหน่ายสินค้า และด้านการตลาดทางตรง ในการเคยได้รับ หรือค้นหาข้อมูลข่าวสารผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต ผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสำคัญอยู่ในระดับมาก ในเรื่องการเปิดรับสื่อของผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า ส่วนใหญ่ได้รับข่าวสารผ่านสื่อโทรทัศน์มากที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์ในการเปิกรับสื่อเพื่อทราบถึงรูปร่างหน้าตา และคุณสมบัติของสินค้า แต่สื่อที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์แบรนด์เกาหลีของผู้บริโภคกลับพบว่า สื่อบุคคลเป็นเพียงสื่อเดียวที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจและมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน แสดงให้เห็นว่าปัจจุบันผู้บริโภคมีการแสวงหาข้อมูลข่าวสารหลายช่องทางเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อ โดยเฉพาะจากผู้บริโภครายอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นจากคนใกล้ชิด หรือบุคคลที่เชื่อถือได้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เพียงพอ และมั่นใจได้ว่าสินค้าดังกล่าวมีคุณภาพก่อนตัดสินใจซื้อ

Title Alternate Influence of integrated marketing communications (IMC) on consumers' decision-making in buying Korean electronic brand in Ampher Maung and Ampher Warinchamrap, Ubonratchathani province
Fulltext: