วาทกรรม "บุญนิยม" : กรณีศึกษาชุมชนราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี

Titleวาทกรรม "บุญนิยม" : กรณีศึกษาชุมชนราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2554
Authorsบุญทิวา พ่วงกลัด
Degreeรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberBQ บ466
Keywordsพุทธศาสนากับสังคม, ราชธานีอโศก (อุบลราชธานี), เศรษฐกิจพอเพียง--การดำเนินชีวิต
Abstract

งานวิจัย มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของภาษาในการสร้างอุดมการณ์และวาทกรรมบุญนิยม ให้เกิดขึ้นในกลุ่มของชาวชุมชนราชธานีอโศก 2)เพื่อศึกษานิจภาพของชาวชุมชนที่ทำให้เกิดภาคปฏิบัติการจริงของวาทกรรม ?บุญนิยม? ของชาวชุมชนราชธานีอโศกตามแนวคิดนิจภาพ (Habitus) ของ ปิแอร์ บูร์ดิเยอ วิธีในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วยการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า ภาษาเข้ามามีบทบาทในการสร้างและคงไว้ซึ่งอุดมการณ์และวาทกรรม ?บุญนิยม? คำศัพท์ที่เกี่ยวกับอุดมการณ์ ?บุญนิยม? ได้ถูกสร้างขึ้นใน 3 ด้าน คือ 1)คำศัพท์เกี่ยวกับแนวคิดหลัก 2)คำศัพท์ด้านเศรษฐกิจและ 3)คำศัพท์ด้านสังคม คำศัพท์ต่าง ๆ เหล่านี้ ถูกนำไปใช้ภายในชุมชนในการสื่อสารแบบทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ได้แก่ การเทศน์ของสมณะโพธิรักษ์ รวมถึงสมณะและสิกมาตุ การประชุมต่าง ๆ ของชาวชุมชน และการสื่อสารผ่านสื่อประเภทต่าง ๆ เช่น เอกสารและวารสารของชาวอโศก และสื่อโทรทัศน์และวิทยุของชาวอโศก และการสนทนาแบบไม่เป็นทางการ ด้วยภาษาและคำศัพท์ต่าง ๆ ที่ถูกนำมาใช้นี้ ทำให้เกิดนิจภาพขึ้นสองลักษณะภายในกลุ่มชาวชุมชนราชธานีอโศก คือ 1) นิจภาพระดับปัจเจกบุคคล ประกอบด้วย ลักษณะการบริโภค ลักษณะการแต่งการและรูปลักษณ์ และการทำงานของการปฏิบัติธรรม และ 2)นิจภาพระดับสังคม ได้แก่ การเข้าร่วมงานและกิจกรรมต่างๆ ของชาวโลกและของชุมชน ซึ่งเป็นการผลิตซ้ำอุดมการณ์และวาทกรรม ?บุญนิยม? ให้ดำรงอยู่

Title Alternate "Booniyom" discourse: A case study of ratchathani Asoke community, Ubon Ratchathani province
Fulltext: