การศึกษาสภาพปัญหาการปรับตัวของนักศึกษา ปี 1 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Titleการศึกษาสภาพปัญหาการปรับตัวของนักศึกษา ปี 1 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2555
Authorsณรัญญา มีชัย, พลากร สืบสำราญ, ปวีณา ลิมปิทีปราการ, รัตติกาล วังคะฮาต, จิวรา โสดากุล, กฤติญา จันทร์พันธ์, อภิญญา สลักคำ, กนกวรรณ ศิวะรัตน์
Institutionวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberLG395.U26 ณ249
Keywordsมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี--นักศึกษา
Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการปรับตัวและเปรียบเทียบปัญหาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2554 ของทุกคณะ/วิทยาลัย ในด้านข้อมูลส่วนบุคคล วิธีการรับเข้า ระบบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และสถานะทางสังคมจองครอบครัว ผลการวิจัย พบว่า 1)นักเรียนชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีปัญหาโดยรวมในระดับเล็กน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับเล็กน้อยทั้ง 11 ด้าน เมื่อจัดอันดับของปัญหาตามคะแนนเฉลี่ย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการปรับตัวทางด้านการเรียน รองลงมือคือ ด้านอนาคตเกี่ยวกับอาชีพและการศึกษา และด้านสุขภาพ และกิจกรรมทางสังคมและนันทนาการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน 2)นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่มีเพศต่างกันมีปัญหาโดยรวมและปัญหาทั้ง 11 ด้าน ในเพศชายและเพศหญิงมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3)นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่มีภูมิลำเนาต่างกัน มีปัญหาด้านการปรับตัวทางเพศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัญหาโดยรวมและด้านอื่น ๆ อีก 10 ด้าน ในกลุ่มผู้มีภูมิลำเนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคอื่น ๆ มีปัญหาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4)นักเรียนชั้นปีที่ 1 ที่มีวิธีการรับเข้าต่างกัน มีปัญหาโดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5)นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่สังกัดคณะ/วิทยาลัยต่างกัน มีปัญหาโดยรวมและรายด้าน 6 ด้าน คือ ด้านสุขภาพ ด้านการเงินและที่อยู่อาศัย ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านการปรับตัวทางเพศ ด้านบ้านและครอบครัว และด้านหลักสูตรและการสอนแตกต่างกันระหว่างคณะ/วิทยาลัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่พบความแตกต่าง 6)นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต่างกัน มีปัญหาโดยรวมและรายด้าน 3 ด้าน คือ ด้านการเงินและที่อยู่อาศัย ด้านบ้านและครอบครัวและด้านหลักสูตรและการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่พบความแตกต่าง 7)นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ครอบครัวมีรายได้เฉลี่ยต่อปีต่างกัน มีปัญหาด้านการเงินและที่อยู่อาศัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่พบความแตกต่าง

Title Alternate A study of freshmen's adjustment problems, Ubon Ratchathani University