การศึกษาส่วนประสมทางการตลาด (4Ps) ที่มีผลต่อความล้มเหลวของธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม (โชห่วย) ในกลุ่มจังหวัดศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

Titleการศึกษาส่วนประสมทางการตลาด (4Ps) ที่มีผลต่อความล้มเหลวของธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม (โชห่วย) ในกลุ่มจังหวัดศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2553
Authorsกมลพร นครชัยกุล, ชวพจน์ ศุภสาร
Institutionคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHF5415.33.T5 ก136
Keywordsความพอใจของผู้บริโภค, ยโสธร, ร้านค้าปลีก--ศรีสะเกษ, อำนาจเจริญ, อุบลราชธานี
Abstract

การวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาลักษณะการประกอบการของธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม (โชห่วย) ในกลุ่มจังหวัดศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี 2)ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม (โชห่วย) ในกลุ่มจังหวัดศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี และ 3)ศึกษาความพึงพอใจของกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดของธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม (โชห่วย) ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ในกลุ่มจังหวัดศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม (โชห่วย)ที่ตอบแบบสอบถามมากกว่าครึ่งหนึ่งของเพศหญิง มีอายุ 61 ปี ขึ้นไป มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า ระยะเวลาในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการต่ำกว่า 10 ปี และมีขนาดของร้านแบบ 2 คูหา ทำการเปิดร้านเพื่อให้บริการลูกค้าตั้งแต่เวลา 6.00-21.00 น. มียอดขายเฉลี่ยต่อวัน 1000 บาทหรือต่ำกว่า และเหตุผลในการเลือกประกอบธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม (โชห่วย) เนื่องจากไม่มีงานทำ ตกงาน เป็นธุรกิจที่สืบทอดกันมา อยากมีธุรกิจของตนเองและต้องการอาชีพเสริม
จุดแข็งของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม (โชห่วย) ได้แก่ ลูกค้ากับผู้ประกอบการมีความคุ้นเคยกันดี สินค้าที่นำเข้ามาขายในร้านส่วนใหญ่เป็นที่ต้องการของคนในชุมชนและสินค้าสามารถนำมาแบ่งขายให้กับลูกค้าได้ การดำเนินธุรกิจใช้เงินลงทุนไม่สูงมาก การจัดโครงสร้างองค์กรไม่มีความซับซ้อน จุดอ่อนได้แก่ สินค้าขาดความหลากหลาย ราคาสินค้าค่อนข้างแพง ไม่นิยมติดราคาสินค้าที่ชัดเจน การจัดวางสินค้าไม่เป็นระเบียบ ทำให้สินค้าเก่ามีการปะปนกับสินค้าใหม่ บรรยากาศในร้านไม่ดึงดูดใจให้ลูกค้าเข้าร้าน ไม่สามารถเดินเพื่อเลือกซื้อสินค้าได้ และไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกภายในร้านสำหรัลบริการลูกค้า ขาดการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย ระบบการสั่งซื้อและระบบการบริหารสินค้าคงคลังไม่เป็นมาตรฐาน มีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในการดำเนินงานน้อยมาก ผู้ประกอบการขาดการสางแผนทางการเงิน และไม่มีวิธีควบคุมรายรับรายจ่ายที่เป็นมาตรฐาน ผู้ประกอบการหลายรายไม่มีการวางแผนในการดำเนินธุรกิจไม่มีวิสัยทัศน์และขาดการเข้าร่วมอบรมเพื่อพัฒนาตนเอง

Title Alternate Studying marketing mixs (4Ps) affecting the failure of traditional trade (Chohuay) in Sisaket, Yasothon, Amnatjaroen and Ubonrajathani