ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมของสารสกัดเห็ดป่ากินได้ในจังหวัดอุบลราชธานี

Titleฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมของสารสกัดเห็ดป่ากินได้ในจังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2553
Authorsสมจินตนา ทวีพานิชย์
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQK617 ส263
Keywordsสารประกอบฟีนอลิก, อุบลราชธานี, เห็ด--เภสัชฤทธิ์วิทยา
Abstract

การศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเห็ดป่ากินได้ในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 20 ชนิด โดยใช้ตัวทำละลาย 3 ชนิด คือ เฮกเซน เอทิลอะซิเตต และเอทานอล โดยศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH radical scavenging activity วิธี ABTS radical cation scavenging activity และวิธี reducing antioxidant power (FRAP) ตามลำดับ การหาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมด้วยวิธี Folin-Ciocalteu โดยมีสารมาตรฐานโทรลอกซ์ (Trolox) และวิตามินซี (L-ascorbic) เป็นตัวควบคุม ผลการทดสอบด้วยวิธี DPPH พบว่าสารสกัดจากเห็ดป่ากินได้ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด คือ สารสกัดหยาบเอทานอลของเห็ดเผาะฝ้าย มีค่าเท่ากับ 50.27? 0.88% และทดสอบด้วยวิธี ABTS พบว่าสารสกัดจากเห็ดป่ากันได้ที่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระดีที่สุด คือ สารสกัดหยาบเอทานอลของเห็ดก่อใหญ่ มีค่าเท่ากับ 57.61 ?0.71% และผลการทดสอบเพื่อยืนยันความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี FRAP พบว่า สารสกัดหยาบเอทิลอะซิเตตของเห็ดหำฟานมีค่า FRAP value มากที่สุด เท่ากับ 1558.20 มิลลิกรัม เทียบเท่ากับสารมาตรฐาน L-ascorbic (FRAP value=1470.97) และเมื่อนำมาหาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมพบว่าให้ผลสอดคล้องกับวิธี DPPH และปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม มีค่าเท่ากับ 10.53 มิลลิกรัม เทียบเท่ากับสารมาตรฐาน Tannic acid ต่อกรัมของสารสกัด

Title Alternate Antioxidant activity and total phenolic content of wild edible mushroom extracts in Ubonratchathani province