การบำบัดมลภาวะอากาศในอาคารโดยการดูดซับด้วยถ่านมูลโคและถ่านกัมมันต์มูลโค

Titleการบำบัดมลภาวะอากาศในอาคารโดยการดูดซับด้วยถ่านมูลโคและถ่านกัมมันต์มูลโค
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2551
Authorsสุรชัย วงชารี
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTD ส847
Keywordsคาร์บอนมอนอกไซด์--การดูดซับ, มลพิษทางอากาศ--การป้องกันและควบคุม, มูลสัตว์
Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำมูลโคมาทำการสังเคราะห์โดยกระบวนการ Carbonization และ Activation ด้วยซิงค์คลอไรด์ และโซเดียมคลอไรด์ ที่อุณหภูมิ 400 500 และ 600 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1, 2 และ 3 ชั่วโมง จากการศึกษาพบว่ามูลโคที่ผ่านการ Activation ด้วยซิงค์คลอไรด์ให้ค่าพื้นที่ผิวจำเพาะมากที่สุดเท่ากับ 338.25? 1.06 ตารางเมตรต่อกรัมที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง รงลงมาคือมูลโคที่ผ่านการ Carbonization ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง มีค่าพื้นที่ผิวจำเพาะเท่ากับ 198.90?2.97 ตารางเมตรต่อกรัม และ 155.50?0.71 ตารางเมตรต่อกรัม ตามลำดับ ในส่วนขนาดและปริมาตรจำเพาะของรูพรุนส่วนใหญ่ พบว่า มูลโคที่ผ่านการกระตุ้นด้วยซิงค์คลอไรด์มีค่าเท่ากับ 16.60?0.318 A และ 0.0252?0.0012 cc/A/g ตามลำดับ ส่วนมูลโคที่ผ่านการ Carbonization มีขนาดและปริมาตรจำเพาะของรูพรุนเท่ากับ 20.6?0.43 A และ 0.014?0.0011 cc/A/g ตามลำดับ และมูลโคที่ผ่านการ Activation ด้วยโซเดียมคลอไรด์มีค่าเท่ากับ 26.40?0.04 A และ 0.0100?0.0024 cc/A/g ตามลำดับ
นอกจากนี้ยังศึกษาการดูดซับก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์โดยใช้ถ่านมูลโคและถ่านกัมมันต์มูลโคที่สังเคราะห์ได้ที่สภาวะที่ดีที่สุด พบว่า Langmuir และ Freundlich สามารถใช้อธิบายไอโซเทอมของการดูดซับก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ของมูลโคและถ่านกัมมันต์มูลโคได้ดี (r2>0.00) และประสิทธิภาพการดูดซับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ด้วยถ่านมูลโคและถ่านกัมมันต์มูลโคมีค่าเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นเริ่มต้นของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และจากการศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับสารอินทรีย์ระเหยง่ายทั้งหมดของ TVOCs ลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงแรกของการดูดซับ ด้วยถ่านมูลโคทั้งสามชนิดและเริ่มเข้าสู่สภาวะสมดุลที่เวลาในการดูดซับประมาณ 150 นาที เมื่อความเข้มข้นเริ่มต้นของ TVOCs เท่ากับ 100 ppm เวลาที่ใช้ในการสัมผัสเท่ากับ 200 นาที โดยถ่านมูลโคที่ผ่านการ Activation ด้วยซิงค์คลอไรด์ ที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ให้ประสิทธิภาพการดูดซับดีที่สุด เท่ากับ 93.15?0.07% รองลงมาถ่านมูลโคที่ผ่านการ Carbonization ที่อุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง และถ่านมูลโคที่ผ่านการ Activation ด้วยโซเดียมคลอไรด์ที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ซึ่งมีค่าเท่ากับ 82.60?0.07% และ 73.90?0.14% ตามลำดับ

Title Alternate Treatment of indoor air pollutants by adsorption using cow dung charcoal and activated cow dung carbon
Fulltext: