การแก้ไขความขัดแย้งเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรน้ำ : กรณีศึกษาเครือข่าย "วังปลา" หมู่บ้านฮ่องอ้อ

Titleการแก้ไขความขัดแย้งเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรน้ำ : กรณีศึกษาเครือข่าย "วังปลา" หมู่บ้านฮ่องอ้อ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2551
Authorsสายรุ้ง สิงห์เรือง
Degreeศิลปศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาสังคมศาสตร์และการพัฒนา
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHD ส661ก
Keywordsการพัฒนาแหล่งน้ำ, น้ำ--การจัดการ.
Abstract

การศึกษาเรื่องการแก้ปัญหาความขัดแย้งกับการจัดการทรัพยากรน้ำ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความขัดแย้งและการแก้ไขความคัดแย้งเรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชนเล็ก ๆ แห่งหนึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูล ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3 ส่วนคือ ชุมชน รัฐ และเอกชน จากการศึกษาพบว่า ความขัดแย้งเกิดจากการแย่งชิงสิทธิการเป็นเจ้าของทรัพยากรน้ำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการจัดการ ภายใต้คู่ขัดแย้งสองคู่ คือ ความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับรัฐและเอกชน และอำนาจในการจัดการทรัพยากรน้ำ ด้วยการให้สัมปทานการดูดทรายกับบริษัทเอกชนโดยขาดการมีส่วนร่วมในการรับรู้และตัดสินใจของชุมชน การดูดทรายสร้างความเดือดร้อนและส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของคนในชุมชน นำไปสู่ความขัดแย้ง ชุมชนได้ต่อสู้เพื่อแย่งชิงทรัพยากรกลับคืนมาเป็นชุมชนด้วยวิธีการสร้างวังปลาและบริหารจัดการด้วยวิธีการของชุมชนให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
การสร้างวังปลาได้นำมาสู่ความขัดแย้งครั้งซึ่งเป็นคู่ขัดแย้งระหว่างชุมชนกับชุมชน เนื่องจากการสร้างวังปลาทับซ้อนกับพื้นที่ลากอวนของหมู่บ้านใกล้เคียง จึงเกิดการอ้างสิทธิการเป็นเจ้าของทรัยพากรของแต่ละฝ่าย ด้วยการนิยามความหมายสิทธิการเป็นเจ้าของที่แตกต่างกันเพื่อที่ตนเองจะมีอำนาจใช้และจัดการทรัพยากร ชุมชนลากอวนอ้างสิทธิการเป็นเจ้าของโดยใช้ระบบกรรมสิทธิ์ ชณะที่ฝ่ายวังปลาใช้ระบบสิทธิส่วนรวมอ้างสิทธิการเป็นเจ้าของ การอ้างสิทธิการเป็นเจ้าของภายใต้การนิยามความหมายเรื่องสิทธิที่ต่างกันจึงนำมาซึ่งความขัดแย้ง เนื่องจากชุมชนอยู่ใกล้กัย ความเป็นเพื่อน เป็นญาติพี่น้องกัน ชุมชนจึงเลือกวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยวิธีการเจรจาไกล่เกลี่ยแบบใช้คนกลาง (Mediation) เพื่อให้ชุมชนสามารถอยู่รอดและอยู่ร่วมกันได้ท่ามกลางความขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับชุมชนชนบทเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง ชุมชนได้เรียนรู้วิธีการจัดการกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นด้วยวิธีการแบบสันติวิธี ชุมชนแห่งนี้ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างที่มีคุณค่าอย่างยิ่งสำหรับสังคมที่นับวันจะมีความขัดแย้งและความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

Title Alternate Solutions to conflicts concerning water governance: a case study of "Fish Park" Network of Hong-Au Village