การนำนโยบายไปปฏิบัติตามโครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข : กรณีศึกษาเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโค ตำบลสร้างมิ่ง จังหวัดยโสธร

Titleการนำนโยบายไปปฏิบัติตามโครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข : กรณีศึกษาเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโค ตำบลสร้างมิ่ง จังหวัดยโสธร
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2552
Authorsเกรียงไกร บุญประจง
Degreeรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสศาสตร์
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSF ก767ก
Keywordsการพัฒนาการเกษตร--การวางแผน, การพัฒนาการเกษตร--นโยบายของรัฐ, เกษตรกร--การรวมกลุ่ม
Abstract

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบหรือลักษณะการเลี้ยงโคตามโครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโค ในพื้นที่ตำบลสร้างมิ่ง จังหวัดยโสธร และ 2) เพื่อวิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานโครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโค ในพื้นที่ตำบลสร้างมิ่ง จังหวัดยโสธร เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบหรือลักษณะการเลี้ยงโคตามโครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข มีรูปแบบของการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ในกลุ่มสมาชิกและข้ามกลุ่มสมาชิก เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายในลักษณะการปรึกษาหารือกัน แลกเปลี่ยนแม่พันธุ์ในกลุ่มสมาชิก เมื่อสมาชิกของโครงการนำโคแม่พันธุ์ไปเลี้ยงแล้วตกลูก ผู้เลี้ยงจะได้สิทธิในตัวลูกโค ส่วนโคแม่พันธุ์ต้องนำส่งคืนให้กลุ่มสมาชิกเพื่อจัดสรรให้เกษตรกรคนอื่นเลี้ยงต่อไป ทำให้เกิดการขยายตัวของกลุ่มสมาชิกผู้เลี้ยงโคในเขตพื้นที่เป็นระบบหมุนเวียนในลักษณะธนาคารโคกระบือ วิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงโคตามโครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข สรุปได้ดังนี้ 1)วิธีการบริหารจัดการภายในกลุ่มสมาชิก ถึงแม้จะมีการรวมกลุ่มสมาชิกเป็นเครือข่ายปรึกษากัน แต่ยังขาดภาวะผู้นำของกลุ่มสมาชิก ระบบการตัดสินใจและการติดต่อสื่อสาร การระดมทรัพยากรภายในกลุ่มสมาชิก เครือข่าย และขาดกลไกการติดตรมผลการทำงานหรือดำเนินงานโครงการของกลุ่มสมาชิก 2) การดำเนินงานโครงการเป็นลักษณะบนลงล่าง (top-down decision-making approach) มากเกินไป นำไปสู่การขาดการตัดสินใจร่วมกัน ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ของแต่ละพื้นที่ ประกอบกับคณะกรรมการบริหารกลุ่มสมาชิกไม่มีความรับผิดชอบต่อตัวเองและกับกลุ่มสมาชิก นอกจากนี้ ยังเข้าใจว่าเป็นโครงการที่หน่วยงานภาครัฐต้องรับผิดชอบ คณะกรรมการเป็นเพียงผู้ประสานงานให้กับเจ้าของโครงการ (ภาครัฐ) จึงเกิดการเอาเปรียบกันในกลุ่มสมาชิกด้วยกันเอง และ 3) การจัดสรรงบประมาณ มีผู้มีอิทธิพลในหน่วยงานภาครัฐและในชุมชนท้องถิ่น เข้ามาควบคุมผลการพิจารณาจัดสรรงบประมาณหรือทิศทางของการดำเนินงาน แผลงาน ประกอบกับการเลี้ยงโคของกลุ่มสมาชิกไม่เป็นไปตามขั้นตอนและกระบวนการดำเนินงานที่ถูกต้อง

Title Alternate The policy implementation of a well-being strategic project: a case study of cattle-raising farmer groups network in Sangming sub-district, Yasothon province
Fulltext: