กลไกรักษาอาการผมร่วงของสารเคมี พฤกษเคมี และสารสกัดธรรมชาติ โดยการออกฤทธิ์ต่อฮอร์โมน

Titleกลไกรักษาอาการผมร่วงของสารเคมี พฤกษเคมี และสารสกัดธรรมชาติ โดยการออกฤทธิ์ต่อฮอร์โมน
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2553
Authorsไชยวัฒน์ ไชยสุต, วันดี รังสีวิจิตรประภา, ฐาปนา กุมาร์
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRL91 ช912
Keywordsการรักษาด้วยสมุนไพร, ผม--การดูแลและสุขวิทยา, ผมร่วง, พฤษเคมี
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกการรักษาผมร่วมของสารเคมี พฤกษเคมี และสารสกัดพืชไทย โดยนำเอาพืชทั้งหมด 19 ชนิด มาสกัดด้วยตำทำละลาย และทำการศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ 5alpha-reductase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ให้เป็นสารอนุพันธ์ไดไฮโดรเทสเตอโรน ที่มีฤทธิ์แรงขึ้น มีรายงานว่า ประมาณของ DHT ที่เพิ่มขึ้นในต่อมรากผมทำให้เกิดผมร่วงได้
ในการสกัดสารจากพืชนั้นพบว่า มีค่าร้อยละของผลได้แตกต่างกันไป โดยอยู่ในช่วงร้อยละ 2.22-21.63 ของน้ำหนักพืช โดยมะขามป้อมให้ค่า %yield สูงที่สุด และข้าวหมอนิลให้ค่า %yield ต่ำที่สุด เมื่อนำสารสกัดต่าง ๆ ไปทดสอบฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์ พบว่า สารสกัดด้วยน้ำของดอกอัญชันให้ฤทธิ์แรงมากที่สุด รองลงมา คือ สารสกัดด้วยน้ำของมะคำดีควาย และสารสกัดด้วยน้ำของขิง ตามลำดับ สำหรับสารสกัดพืชที่ให้ฤทธิ์อ่อนที่สุดในการทดสอบนี้ ได้แก่ สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ของส้มเขียวหวาน อันดับถัดมา คือ สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ของทองพันชั่ง และมังคุด ตามลำดับ จึงนำเอาสารสกัดพืชที่มีฤทธิ์แรงที่สุด 3 อันดับแรก มาทดสอบฤทธิ์กระตุ้นผมงอกในหนู C57BL/6 ต่อ โดยพบว่า สารสกัดด้วยน้ำของขิงให้ฤทธิ์กระตุ้นการงอกของผมโดยเร่งอัตราการเจริญของผมในช่วง 14 วันแรก ในขณะที่ สารสกัดด้วยน้ำของอัญชัน ไม่มีผลต่ออัตราการเจริญของผม แต่สามารถกระตุ้นให้ผมงอกได้มากกว่าหนูกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับสารสกัดด้วยน้ำของมะคำดีควายทำให้หนูเกิดการระคายเคืองขึ้นจะเป็นบาดแผล

Title Alternate Mechanism for hair loss treatment of chemicals, phytochemicals, and natural extraction products by hormones interaction