การอนุรักษ์พิธีกรรมและการแต่งกายในการฟ้อนกลองตุ้มจังหวัดอุบลราชธานี

Titleการอนุรักษ์พิธีกรรมและการแต่งกายในการฟ้อนกลองตุ้มจังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2552
Authorsคำล่า มุสิกา
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberDS589.U26 ค381
Keywordsการฟ้องกลองตุ้ม, การรำ, ความเชื่อ, พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม, อุบลราชธานี--ความเป็นอยู่และประเพณี
Abstract

โครงการวิจัยเรื่องการอนุรักษ์พิธีกรรมและการแต่งกายในการฟ้อนกลองตุ้มจังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการวิจัย เพื่อศึกษาพิธีกรรมและการแต่งกายในการฟ้อนกลองตุ้มจังหวัดอุบลราชธานี และมุ่งที่จะให้ชุมชนที่มีการฟ้อนกลองตุ้มที่กระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้พิธีกรรมและการแต่งกายในการฟ้อนกลองตุ้มของชุมชนอื่นเพื่อหากระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้พิธีกรรมและการแต่งกายรวมทั้งท่าทางการแสดงในการฟ้อนกลองตุ้มสู่ชุมชน สถานศึกษา หน่วยงานต่าง ๆ และมุ่งหวังให้คนในชุมชนและชาวอุบลราชธานีตระหนักในคุณค่าและความภาคภูมิใจ ร่วมสืบสานในเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม พิธีกรรม และการแต่งกายในการฟ้อนกลองตุ้มของชาวอุบลราชธานี
จากการวิจัยผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชน ทั้งสี่ชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วย ชุมชนบ้านหนองบ่ ตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง ชุมชนบ้านสำลาก ตำบลหนองบ่อ อำเภอเมือง ชุมชนบ้านท่าลาด ตำบาลท่าลาด อำเภอวารินชำราบ และชุมชนบ้านท่าโพธิ์ศรี ตำบลท่าโพธิ์ศรี อำเภอเดชอุดม พบว่าทุกชุมชนไม่ทราบข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาเรื่องการฟ้อนกลองตุ้มของชุมชนตนเอง ปรากฏการณ์ที่พบเหมือนกันทั้ง 4 ชุมชน คือ วัตถุประสงค์ของการฟ้อนกลองตุ้มเพื่อการขอฝน มิติและองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย ท่าฟ้อน มีความแตกต่างกันทั้งสี่ชุมชน มีการได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ และคิดค้น ดัดแปลง เพิ่มเติมตามแต่ละท้องที่ ดนตรี ทุกชุมชนจะใช้เฉพาะกลองตุ้มและพังฮาด แต่อาจเรียกชื่อเครื่องดนตรีเพี้ยนออกไปตามสำเนียงการพูด จังหวะดนตรีบรรเลงประกอบในการฟ้อนมีความคล้ายคลึงกันบ้านในพื้นที่ใกล้เคียงกัน และมีการเปลี่ยนแปลงจังหวะดนตรีในพื้นที่ที่มีการอพยพเคลื่อนย้ายออกไปอาศัยตั้งหลักแหล่งที่อื่น การแต่งกายทั้งสี่ชุมชนมีการสวมเล็บ (ซวยมือ) แต่ใส่จำนวนเล็บไม่เท่ากัน บางชุมชนใส่เล็บจำนวนสี่นิ้ว บางชุมชนใส่เล็บจำนวนห้านิ้ว ตามลักษณะความเชื่อของแต่ละชุมชน และจะสวมใส่เล็บในการฟ้อนกลองตุ้มเท่านั้น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายองค์ประกอบอื่น ๆ มีความแตกต่างกันตามความสามารถในการสร้างเครื่องแต่งกายของชุมชน และคติความเชื่อของแต่ละพื้นที่ วรรณกรรมมีการเรียกวรรณกรรมที่ใช้การขับร้องประกอบการฟ้อนกลองตุ้มที่ต่างกันออกไป โดยชุมชนบ้านหนองบ่อ และบ้านสำลาก เรียกว่า คำเจ่ย แต่ในชุมชนบ้านท่าลาดเรียกวรรณกรรมลักษณะนี้ว่า กาพย์เซิ้ง สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิต ความเชื่อ แนวคิด คำสอยโดยวิธีการใช้คำหยาบโลนเพื่อความสนุกสนานและเผื่อคลายจากกรอบจารีตประเพณี เพราะเนื้อที่ปรากฏในวรรณกรรมประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องผิดจารีต การละเล่นประกอบการฟ้อน เป็นการแสดงให้เห็นถึงสัญลักษณ์การก่อกำเนิดของสิ่งมีชีวิตในโลก อันเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์นั้นเอง
ผลจากงานวิจัยชุมชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้พิธีกรรมและการแต่งกายในการฟ้อนกลองตุ้มภายในชุมชนของตนเองและชุมชนอื่น เกิดกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้พิธีกรรมและการแต่งกายรวมทั้งท่าทางการแสดงในการฟ้อนกลองตุ้มสู่ชุมชน สถานศึกษาจำนวน 109 แห่ง ทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หน่วยงานต่าง ๆ และผู้ที่สนใจทั่วไป ทั้งยังสร้างความตระหนักในคุณค่าและความภาคภูมิใจของคนในชุมชน เพื่อร่วมสืบสานในเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม พิธีกรรม และการแต่งกายในการฟ้อนกลองตุ้มของชาวอุบลราชธานีให้คงอยู่สืบไป

Fulltext: