การพัฒนากระจกสำหรับใช้ป้องกันรังสีอินฟราเรดสำหรับผลิตหน้าต่างอนุรักษ์พลังงาน

Titleการพัฒนากระจกสำหรับใช้ป้องกันรังสีอินฟราเรดสำหรับผลิตหน้าต่างอนุรักษ์พลังงาน
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2552
Authorsสุวัฒน์ ผาบจินดา, เรวัฒน์ เหล่าไพบูลย์
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTJ163.5.G55 ส867
Keywordsกระจก, สถาปัตยกรรมกับการอนุรักษ์พลังงาน
Abstract

โครงการวิจัยนี้ได้เตรียมฟิล์มบางโปร่งใสของทินออกไซด์เจือฟลูออไรด์บนกระจกโดยชุดการทดลองสเปรย์ไพโรไลซีสที่สร้างขึ้นเอง โดยเปรียบเทียบความเข้มข้นของสารตั้งต้นแอมโมเนียมฟลูออไรด์ ในการสเปรย์ใช้อากาศเป็นแก๊สพาหะและได้ฟิล์มที่มีความหนา 300-1600 นาโนเมตร ฟิล์มที่เตรียมได้วิเคราะห์ลักษณะพื้นผิวของฟิล์มศึกษาด้วยเทคนิค SEM จากผลของ SEM แสดงให้เห็นว่าฟิล์มมีเม็ดผลึกที่ต่อเนื่องกันและมีขนาดโยเฉลี่ยอยู่ในระดับร้อยนาโนเมตร ค่าการส่งผ่านแสงในช่วงวิสิเบิลอยู่ในช่วง 60-80% รวมทั้งประสิทธิภาพในการป้องกันแสงอินฟราเรดของฟิล์มเท่ากับ 50-95% ขึ้นอยู่กับความหนาของฟิล์ม ส่วนคุณสมบัติการนำไฟฟ้าของฟิล์มขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารตั้งต้นแอมโมเนียมฟลูออไรด์
นอกจากนี้ ศึกษาผลกระบวนการจุ่มที่แตกต่างกันต่อความขรุขระและความหนาของฟิล์มบางทินออกไซด์เคลือบบนฐานรองกระจกโดยวิธีจุ่มเคลือบโซลเจล ผลของการถ่านโอนมวลของโซลเจลด้วยวิธีการสั่นด้วยอัลตราโซนิกและวิธีการกวนด้วยแม่เหล็กระหว่างขั้นตอนการแช่ต่อลักษณะของพื้นผิวและความหนาของฟิล์มบางทินออกไซด์วิเคราะห์ด้วย SEM และ AFM พบว่าการกวนโซลเจลในขั้นตอนการแช่ของวิธีการเคลือบแบบจุ่มได้ความหนาของฟิล์มสูงสุด อีกด้านหนึ่งความขรุขระของผิวสามารถปรับปรุงโดยวิธีการสั่นโซลเจลด้วยอัลตราโซนิก

Title Alternate Developing the blocking an infrared radiation properties of glass for production the energy conserving windows