การรับรู้สิทธิผู้ป่วยและสิทธิที่ได้รับจริงของผู้มารับบริการแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

Titleการรับรู้สิทธิผู้ป่วยและสิทธิที่ได้รับจริงของผู้มารับบริการแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2549
Authorsสุภาลักษณ์ จัยสิน
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberR ส838ก
Keywordsการรับรู้, สิทธิผู้ป่วย, โรงพยาบาลกันทรลักษ์
Abstract

การวิจัยเขิงสำรวจแบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้วิทธิของผู้ป่วยและสิทธิที่ได้รับจริงของผู้มารับบริการแผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ทำการเก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่างรับรู้สิทธิของผู้ป่วยตามคำประกาศสิทธิผู้ป่วยในระดับปานกลาง คิดเป็นคะแนนเฉลี่ย 6.98 โดยกลุ่มตัวอย่างเพศชายรับรู้สิทธิของผู้ป่วยมากกว่าเพศหญิง และผู้ที่มีอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ รวมถึงผู้ที่เคยได้รับรู้เกี่ยวกับเรื่องสิทธิผู้ป่วยจะมีคะแนนการรับรู้มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ผู้ป่วยที่มีปัจจัยส่วนบุคคลอื่น ๆ แตกต่างกันจะรับรู้วิทธิผู้ป่วยไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้พบว่าสิทธิที่ได้รับจริงของกลุ่มตัวอย่างตามคำประกาศสิทธิผู้ป่วยโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นคะแนน 7.95 และความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์ต่อการได้รับสิทธิของผู้ป่วย
อย่างไรก็ตามพบว่าการได้รับสิทธิจริงในบางประการของผู้ป่วยน้อยกว่าการรับรู้โดยเฉพาะในประเด็น 1. ผู้ป่วยมีสิทธิพื้นฐานที่จะได้รับบริการทางด้านสุขภาพ 2.ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบชื่อ-นามสกุล และประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่เป็นผู้ให้บริการแต่ตน 3.ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตนที่ปรากฏในเวชระเบียนเมื่อร้องขอ และพบว่าสิทธิของผู้ป่วยที่ได้รับจริงเมื่อเทียบกับการรับรู้ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่อง 1. ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพเพื่อให้สามารถเลือกตัดสินใจในการยินยิมหรือไม่ยินยอม เว้นแต่เป็นการช่วยเหลือรีบด่วนหรือจำเป็น 2.ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะขอความเห็นจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่นมิได้เป็นผู้ให้บริการแก่ตนและมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ให้บริการและสถานบริการได้ และ 3.ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเองจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยเคร่งครัด เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วย และพบว่ากลุ่มตัวอย่างได้รับสิทธิผู้ป่วยในอีก 4 ประการมากกว่าการรับรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในประเด็น 1.ผู้ป่วยมีสิทธิพื้นฐานที่จะได้รับการบริการทางด้านสุขภาพโดยไม่เลือกปฏิบัติ 2.ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตมีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากผู้ประกอบวิชาชีพโดยทันที 3.ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะรับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วนในการตัดสินใจเข้าร่วมหรือถอนตัวจากการเป็นผู้ถูกทดลองในการทำวิจัย 4.บิดามารดาหรือผู้แทนโดยชอบอาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วยที่ยังเป็นเด็กอายุยังไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์

Title Alternate Perception and reception on patient's right of the inpatient clients at Khantraralak hospital Srisaket province
Fulltext: