ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมอุณหภูมิในการทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์แบบเปิดและไม่เปิดเครื่องเป่าอากาศในถังหมักชีวภาพ

Titleปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมอุณหภูมิในการทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์แบบเปิดและไม่เปิดเครื่องเป่าอากาศในถังหมักชีวภาพ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2549
Authorsรุ่งนภา ทับหนองฮี
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberS ธ623ป
Keywordsขยะ--การจัดการ, ขยะอินทรีย์, ถังหมัก, ถังหมักชีวภาพ, ปุ๋ยชีวภาพ, ปุ๋ยหมัก--การผลิต, เศษอาหาร, แบคทีเรียก่อโรค
Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมอุณหภูมิในการทำปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์แบบเปิดและไม่เปิดเครื่องเป่าอากาศในถังหมักชีวภาพ (BiobiN) โดยใช้ส่วนผสมจากขยะอินทรีย์ที่เป็นเศษอาหาร (30% โดยน้ำหนัก) เศษกิ่งไม้ใบไม้บดย่อย (20% โดยน้ำหนัก) วัตถุดิบในท้องถิ่น (40% โดยน้ำหนัก) และดินหัวเชื้อในท้องถิ่น (10% โดยน้ำหนัก) พบว่า ปุ๋ยหมักทั้งสองแบบมีสภาพคงตัวหลังจาก 45 วันของการหมัก โดยสังเกตจากลักษณะทางกายภาพ คือ กลิ่นหอมคล้ายดิน สีน้ำตาลเข้มถึงสีดำโดยไม่มีฝ้าและผงสีขาวทั่วไป การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์แบบเปิดและไม่เปิดเครื่องเป่าอากาศมีดังนี้ ช่วงเวลาที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 55 องศาเซลเซียส เกิดขึ้นในช่วง 8-10 วันแรกของการหมักเป็นระยะเวลา 34 และ 24 วัน ตามลำดับ อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดทั้ง 5 จุดในกองปุ๋ยหมักที่วัดได้คือ 60.84 องศาเซลเซียส และ 59.52 องศาเซลเซียส ตามลำดับ จากนั้นอุณหภูมิเริ่มลดลงและคงที่ในช่วง 42-48 องศาเซลเซียส จากวันที่ 45 ตลอดระยะการศึกษา 100 วัน ส่วนค่า pH สามารถรักษาได้ในช่วง 5.5-6.5 ตลอดการศึกษาและมีค่าความชื้นเฉลี่ย (น้ำหนักเปียก) เปลี่ยนแปลงจาก 80% ลดลงเป็น 20% ในช่วง 2 สัปดาห์แรกของการหมักและมีค่าคงที่ตลอดการศึกษา เมื่อทำการหมักปุ๋ยครบ 100 วัน ปุ๋ยหมักทั้งสองแบบมีลักษณะทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีค่าความชื้นน้อยกว่า 35% ค่า C/N Ratio ต่ำกว่า 20:1 และค่า EC น้อยกว่า 350 mS/cm ส่วนจำนวนของจุลินทรีย์และแบคทีเรียที่ก่อโรคทุกตัวที่ศึกษามีค่าลดลงและถูกทำลายจากค่าเริ่มต้น อย่างไรก็ตามในระหว่างการหมักปุ๋ยยังไม่สามารถรักษาระยะเวลาที่มีอุณหภูมิสูงมากกว่า 60 องศาเซลเซียส ไว้ได้ให้นานเกิน 3 สัปดาห์ เพื่อให้เกิดปลอดภัยสูงสุดต่อการผลิตและการใช้ปุ๋ยหมัก จึงควรทำการศึกษาเพื่อหาแนวทางและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการควบคุมระยะเวลาและอุณหภูมิที่ต้องการต่อไป

Title Alternate Factors affecting temperature control on organic waste composting with and without operation air blower biobin
Fulltext: