ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ความคิดเห็นที่มีต่อระบบการปฏิบัติงานและผลการปฏิบัติงานตามภารกิจของมหาวิทยาลัยของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

Titleขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ความคิดเห็นที่มีต่อระบบการปฏิบัติงานและผลการปฏิบัติงานตามภารกิจของมหาวิทยาลัยของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2552
Authorsคัทลียา นาวิเศษ
Degreeรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberLG ค255ข
Keywordsขวัญในการทำงาน, พนักงานมหาวิทยาลัย -- ขวัญในการทำงาน, มหาวิทยาลัยราชภัฏ -- พนักงาน -- ขวัญในการทำงาน
Abstract

การศึกษามีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาถึงขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ 2) ศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อระบบการปฏิบัติงานและผลการปฏิบัติงานตามภารกิจของมหาวิทยาลัยของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของขวัญกำลังใจ ความคิดเห็นที่มีต่อระบบการปฏิบัติงาน และผลการปฏิบัติงานตามภารกิจของมหาวิทยาลัยของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ โดยศึกษาจากประชากร คือ บุคลากร 246 คน ได้แก่ 1) ข้าราชการ 29 คน 2) พนักงานมหาวิทยาลัย 46 คน 3) พนักงานราชการ 23 คน และ 4) ลูกจ้างชั่วคราว 148 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตามวิธีของเพียร์สัน ทดสอบทีเทส (t-test) และทดสอบเอฟเทส (F-test) ผลการศึกษา พบว่า
(1) ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบอยู่ในระดับมาก 6 ด้าน ได้แก่ คุณค่าของงานที่ปฏิบัติ ความสนใจใฝ่รู้เจตคติต่อการทำงาน ความสำเร็จของงาน ความสัมพันธ์ในหน่วยงาน และการได้รับการยอมรับ ส่วนอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน ได้แก่ โอกาสความก้าวหน้าในงาน และการบังคับบัญชา
ผลการทดสอบสมมตฐานพบว่า บุคลากรที่มีเพศ อายุ อายุการทำงานในมหาวิทยาลัย ประสบการณ์ทำงานก่อนเข้าทำงาน ระดับการศึกษาสูงสุด ระดับรายได้ต่อเดือน และตำแหน่ง ในหน่วยงานต่างกัน มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานในภาพรวมแตกต่างกัน ยกเว้น บุคลากรที่มีสถานภาพสมรสต่างกัน มีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานในภาพรวมไม่แตกต่างกัน
(2) ความคิดเห็นที่มีต่อระบบการปฏิบัติงานในภาพรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ระดับมาก 1 ด้าน ได้แก่ ด้านผลผลิตในการทำงานและอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการในการทำงาน และผลการปฏิบัติงานตามภารกิจของมหาวิทยาลัยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านการบำรุงศิลปวัฒนธรรม ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการวิจัย
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า บุคลากรที่มีอายุ อายุการทำงานในมหาวิทยาลัยประสบการณ์ทำงานก่อนเข้าทำงาน ระดับการศึกษาสูงสุด ระดับรายได้ต่อเดือน และตำแหน่งในหน่วยงานต่างกัน มีความคิดเห็นที่มีต่อระบบการปฏิบัติงานแตกต่างกัน ยกเว้นบุคลากรที่มีเพศและสถานภาพสมรสต่างกัน มีความคิดเห็นที่มีต่อระบบการปฏิบัติงานในภาพรวมไม่แตกต่างกัน
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า บุคลากรที่มีเพศ อายุ อายุการทำงานในมหาวิทยาลัย ระดับรายได้ต่อเดือน ตำแหน่งในหน่วยงาน และสถานภาพสมรสต่างกันมีผลการปฏิบัติงาน ตามภารกิจของมหาวิทยาลัยแตกต่างกัน ยกเว้นบุคลากรที่มีประสบการณ์ทำงานก่อนเข้าทำงาน และระดับการศึกษาสูงสุดต่างกัน มีผลการปฏิบัติงานตามภารกิจของมหาวิทยาลัยไม่แตกต่างกัน
(3)ความสัมพันธ์ระหว่างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานกับความคิดเห็นที่มีต่อระบบการปฏิบัติงาน และผลการปฏิบัติงานตามภารกิจของมหาวิทยาลัยในภาพรวม มีความสัมพันธ์กันทางบวก อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
(4)ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับขวัญกำลังใจ บุคลากรอยากให้คิดอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และพร้อมที่จะส่งเสริมขวัญกำลังใจให้กับบุคลากรให้ทุกคนมีโอกาสที่จะประสบกับความสำเร็จ มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานที่ทำอยู่ มีความมั่นคงในงานที่ทำ ผู้บริหารควรให้กำลังใจในการปฏิบัติงานในเรื่องการปรับเงินเดือนของพนักงานให้ตรงตามวุฒิการศึกษา มีการพูดคุยกันมากขึ้น มีการประชุมกับบุคลากร มีการพูดคุยหรือตกลงกันให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ก่อนที่จะมอบหมายให้ปฏิบัติมีแบบฟอร์มในการปฏิบัติงานให้ชัดเจน และความไม่เข้าใจระหว่างกันของผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติ รวมถึงควรส่งเสริมความมั่นคงของตำแหน่ง

Title Alternate Performance morale: options towards performance systems and performance results in regard to missions of university : the case study of Chaiyaphum Rajabhat University