ความสัมพันธ์เชิงอำนาจในการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำสาขา : กรณีศึกษา เขื่อนหัวนา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

Titleความสัมพันธ์เชิงอำนาจในการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำสาขา : กรณีศึกษา เขื่อนหัวนา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2563
Authorsเรวุฒิ ทองสิงห์
Degreeศิลปศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาภูมิภาคลุ่มน้ำโขงศึกษา
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Keywordsการจัดการทรัพยากรน้ำ, ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ, ลุ่มน้ำมูล
Abstract

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างรัฐกับชุมชนและภายในชุมชนพื้นที่ลุ่มน้ำมูลสายหลักและลำน้ำสาขา และเพื่อศึกษากระบวนการกีดกัน การรวมเข้า และการต่อรองในการเข้าถึงทรัพยากรลุ่มน้ำระหว่างรัฐกับชุมชนและภายในชุมชนลุ่มน้ำมูลสายหลักและลำน้ำสาขา โดยผู้เขียนใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ได่แก่ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่มย่อย การสังเกตการณ์ และการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากแหล้งสืบค้นและเอกสารงานวิชาการ โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับนิเวศวิทยาการเมือง การกีดกัน/รวมเข้า และสิทธิชุมชน ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างรัฐกับชาวบ้านในพื้นที่ลุํมน้ำมูลและลุ่มน้ำสาขามีความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่แตกต่างกัน ในพื้นที่ลุ่มน้ำมูล สำนักงานชลประทานที่ 8 เป็นผู้รับผิดชอบโครงการเขื่อนหัวนาได้สร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจกับชาวบ้านทามพัฒนา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ด้วยการสร้างวาทกรรมเกี่ยวกับการสร้างอาณาเขตครอบครอง โดยเป็นผู้รับผิดชอบและอำนวยความสะดวกในการยื่นเอกสารเรียกร้องคำชดเชยให้ชาวบ้านทามพัฒนา ในส่วนพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยขะยุงสำนักงานชลประทานที่ 7 เป็นผู้รับผิดชอบโครงการเครื่องสูบน้ำพลังงานไฟฟ้าบ้านหินทราย อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี ได้สร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจ โดยการตั้งกฎกติกาเพื่อเข้าไปจัดการทรัพยากรในพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยขะยุง และมีการสร้างกลุ่มผู้ใช้น้ำอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานชลประทานที่ 7 ในขณะเดียวกันได้ทำให้เกิดความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างชาวบ้านกับชาวบ้าน การจัดการทรัพยากรของรัฐทำให้เกิดปัญหาเรื่องที่ดินทำกินของชาวบ้าน ได้นำไปสู่การรวมตัวชาวบ้าน 2 กลุ่ม คือ สมัชชาคนจนบ้านทามพัฒนา และ กลุ่มบ้านทามพัฒนา ซึ่งมีอุดมการณ์และเป้าหมายการทำงานที่แตกต่างและขัดแย้งกัน ภายใต้ความช่วยเหลือที่เกิดขึ้นโดยพัฒนาเอกชน ที่มีบทบาทส้าคัญในการตัดสินใจ
ในส่วนประเด็นการกีดกัน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนหัวนาได้มีกระบวนการใช้อำนาจในการกีดกันชาวบ้านทามพัฒนาออกจากพื้นที่ลุ่มน้ำมูล โดยการใช้กระบวนการกีดกันทางกฎระเบียบ เป็นการใช้กฎหมายที่ดินเข้าไปบีบบังคับชาวบ้านออกจากพื้นที่ท้ากินในป่าทาม การใช้กระบวนการ กีดกัน เป็นการกีดกันด้วยการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่เข้ามากดดันชาวบ้านทามพัฒนาให้มีการ จำยอมต่อกฎหมายที่ดิน ทำให้ชาวบ้านสูญเสียที่ดินทั้งที่มีเอกสารสิทธิ์และไม่มีเอกสารสิทธิ์ ให้อยู่ภายใต้การดูแลรับผิดชอบของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนหัวนา การใช้กระบวนการกีดกันด้วยตลาด โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนหัวนา โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามีการใช้กระบวนการสร้างความชอบธรรมโดยใช้แผนพื้นฟูผลกระทบจากการสร้างเขื่อนหัวนาเพื่อลดปัญหาความขัดแย้ง ในการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำมูล โดยมีกระบวนการรวมเข้าด้วยการสร้างความชอบธรรมจากการตั้งกลุ่มสหกรณ์ผู้ใช้น้ำบ้านหินทราย การผ่อนปรนกฎระเบียบการใช้น้ำจากเครื่องสูบน้ำ การใช้กลไกตลาด และการปรับเปลี่ยนอาชีพการทำประมงพื้นบ้านสู่การทำเกษตรกรรม ชาวบ้านจึงมองภาพของหน่วยงานภาครัฐในเชิงบวก
นอกจากนี้ โครงการเขื่อนหัวนาได้สร้างผลกระทบต่อชาวบ้านและสร้างปัญหาเรื่องการสูญเสียที่ดินทำกินของชาวบ้านไป ชาวบ้านทามพัฒนาจึงได้มีการต่อรองกับโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนหัวนาโดยใช้กลยุทธ์การต่อรองด้วยการสร้างวาทกรรมพื้นที่ท้ากิน กลยุทธ์การต่อรองผ่านข้อมูลผลการศึกษาผลกระทบและสิ่งแวดล้อมเขื่อนหัวนา กลยุทธการต่อรองผ่านพื้นที่พิธีกรรมความเชื่อ ในการเรียกร้องคำชดเชยที่ดินทำกินที่สูญเสียไป

Title Alternate Power relations in Mun river basin and tributaries: a case study of Hua Na dam in Kanthararom district of Si Sa Ket province