แนวทางการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างสร้างสรรค์ ชุมชนบ้านสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

Titleแนวทางการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างสร้างสรรค์ ชุมชนบ้านสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2564
Authorsธันยาภรณ์ อสิพงษ์
Degreeศิลปศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชานวัตกรรมการท่องเที่ยวและบริการ
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Keywordsการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, กิจกรรมการท่องเที่ยว
Abstract

การวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างสร้างสรรค์ชุมชนบ้านสำโรง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพชุมชนบ้านสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ (2) ประเมินศักยภาพด้านทรัพยากรของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพชุมชนบ้านสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ (3) ศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างสร้างสรรค์ ชุมชนบ้านสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ และ (4) เสนอแนะแนวทางการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างสร้างสรรค์ชุมชนบ้านสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยรูปแบบผสมผสาน (Mixed Method) ระหว่างวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ (Frequency) และค่าเฉลี่ย (Mean) แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (descriptive analysis) สถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistic) และวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)
ผลจากการศึกษา พบว่า (1) จากการสำรวจทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพชุมชนบ้านสำโรง มี 6 ฐาน ได้แก่ ฐานปลูกผักผสมผสานปลอดสารเคมี ฐาน ลด ละ เลิกเหล้า ฐานครัวเรือนน่าอยู่ ฐานเรียนรู้สมุนไพร ฐานการเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ และฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (2) การประเมินศักยภาพด้านทรัพยากรของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพชุมชนบ้านสำโรง พบว่า (2.1) ด้านการวางแผนของผู้รับผิดชอบแหล่งท่องเที่ยว ชุมชนดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวภายใต้สภาผู้นำชุมชน และมีการกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนชุมชนที่ชัดเจน (2.2) ด้านการบริหารจัดการพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว ฐานกิจกรรมจะกระจายอยู่ในชุมชนและแต่ละฐานจะได้รับการรับรองจากสภาพผู้นำชุมชน (2.3) การบริหารจัดการด้านความสามารถในการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว แบ่งเป็น การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวในชุมชน ในชุมชนไม่มีรถยนต์ให้บริการนำชม การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวจึงเป็นการเดินชมและสำรวจชุมชนและการเข้าถึงข้อมูลของชุมชน ชุมชนบ้านสำโรงขาดช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลและการประชาสัมพันธ์ของชุมชน 2.4 การบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ชุมชนบ้านสำโรงเป็นชุมชนที่มีความพร้อมในด้านสิ่งอำนวยความสะดวกที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยว (2.5) การบริหารจัดการให้เกิดคุณภาพบริการในแหล่งท่องเที่ยว ชุมชนควรมีพัฒนาการนำชุมในชุมชน (2.6) การจัดการกิจกรรมทางการท่องเที่ยว กิจกรรมส่วนใหญ่เป็นการเรียนรู้ ซึ่งนักท่องเที่ยวไม่มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม และ(2.7) การบริหารจัดการด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ชุมชนได้ดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวที่อนุรักษ์และสิ่งแวดล้อมในชุมชนจึงเป็นเป้าหมายที่ชุมชนให้ความสำคัญ (3) ความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างสร้างสรรค์ชุมชนบ้านสำโรง พบว่า นักท่องเที่ยวมีความต้องการด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะการได้สัมผัสในการทำกิจกรรมกับชุมชนโดยตรง สัมผัสวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชุมชน เพราะกิจกรรมการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมภายในชุมชนได้ และกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อการเรียนรู้/การถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักท่องเที่ยว และสามารถสร้างความสนุกสนาน และให้นันทนาการแก่นักท่องเที่ยว และ (4) แนวทางการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างสร้างสรรค์ของชุมชนบ้านสาโรง ทำให้ได้แนวทางในการพัฒนาออกเป็น 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ (4.1) ประเด็นเกี่ยวกับการจัดการการท่องเที่ยวภายในชุมชน ประกอบด้วย การจัดการนำเที่ยวในชุมชน เป็นประเด็นที่สำคัญที่จะทำให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนชุมชนได้รับรู้ความเป็นอยู่วิถีชีวิตของชุมชน และ การพัฒนาศักยภาพผู้นำชม นักสื่อความหมายชุมชน นักเล่าเรื่องหรือนักสื่อความหมายมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน ซึ่งจะต้องให้ข้อมูลอย่างถูกต้องและเหมาะสมเกี่ยวกับชุมชนให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือน และผู้นำชมหรือนักสื่อความหมายจะเป็นคนที่กระตุ้นให้นักท่องเที่ยวอยากที่จะมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม (4.2) การส่งเสริมการตลาด นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เดินทางมาเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวเครือข่ายที่เดินทางมาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน การส่งเสริมการตลาดการประชาสัมพันธ์ออนไลน์จึงเป็นแนวทางที่จะช่วยให้ชุมชนเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น

Title Alternate The development of creative health tourism activities of Somrong village, Mueang district, Surin province