การดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 : กรณีศึกษา เขตสุขภาพที่ 10

Titleการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 : กรณีศึกษา เขตสุขภาพที่ 10
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2564
Authorsโสภาพรรณ แก้วหาญ
Degreeปรัชญาดุษฎีบัณฑิต -- สาขาวิชาเภสัชศาสตร์
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Keywordsกฎหมาย, การตั้งครรภ์, การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น, พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559, วัยรุ่น, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คือ การศึกษาเชิงปริมาณ เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางโดยใช้แบบสอบถาม ในกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับอนามัยการเจริญพันธุ์ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 365 คน มีการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2563 ส่วนที่ 2 คือ การศึกษาเชิงคุณภาพ ทำการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างจากบุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานอนามัยการเจริญพันธุ์ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 (พ.ร.บ.ฯ) โดยใช้วิธีการวิเคราะห์แบบ Thematic framework analysis ผลการศึกษาเชิงปริมาณ พบว่า มีแบบสอบถามตอบกลับมา จำนวน 256 ฉบับ (ร้อยละ 70.1) โดยข้อมูลทั่วไปของบุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับอนามัยการเจริญพันธุ์ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัตการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 เขตสุขภาพที่ 10 ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 66.8) มีอายุอยู่ระหว่าง 36–45 ปี (ร้อยละ 51.6) และส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 62.5) โดยมีระยะเวลาที่รับผิดชอบงาน 1-5 ปี (ร้อยละ 50.0) มีความรู้ ความเข้าใจในภาพรวมเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ฯ ในระดับสูง จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน (ความรู้: mean=8.37, SD=2.09; ความเข้าใจ: mean=8.81, SD=1.43) มีทัศนคติและความตระหนักถึงความสำคัญของ พ.ร.บ.ฯ และมุมมองในกาทำงานของบุคลากรตาม พ.ร.บ.ฯ อยู่ในระดับสูง(ทัศนคติและความตระหนัก: mean=4.70, SD=0.50; มุมมอง: mean=4.02, SD=0.45) และพบว่าการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ฯ เขตสุขภาพที่ 10 ในภาพรวม อยู่ในระดับสูง(mean = 3.40, SD= 1.11) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การดำเนินงานด้านการบริหารจัดการ(mean=3.45, SD=1.15) และด้านการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและการเข้าถึงการบริการของวัยรุ่น (mean=3.43, SD=1.23) มีคะแนนอยู่ในระดับสูง และด้านการบริการที่ครอบคลุม การเข้าถึงง่ายและมีประสิทธิภาพถึงการป้องกันและแก้ไขปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย มีระดับคะแนนปานกลาง (mean=3.16, SD=1.24) ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานฯ พบว่า ในเขตสุขภาพที่ 10 มีปัญหาและอุปสรรคภาพรวมอยู่ในระดับสูง (mean=3.38, SD=0.67)

Title Alternate The operation of local administrative organizations in compliance with the act for prevention and solution of the adolescent pregnancy problem, B.E.2559 (2016): case studies of health region 10