การยอมรับนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหารสูตรครบถ้วน:กรณีศึกษากลุ่มพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี

Titleการยอมรับนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหารสูตรครบถ้วน:กรณีศึกษากลุ่มพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2563
Authorsปิยะธิดา ศรีวัง
Degreeบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Institutionคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Keywordsนวัตกรรมอาหาร, ผลิตภัณฑ์อาหาร
Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาคุณลักษณะของนวัตกรรมที่ส่งผลต่อการยอมรับนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหารสูตรครบถ้วน และเพื่อศึกษากระบวนการยอมรับนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหารสูตรครบถ้วน ของกลุ่มพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี ตามแนวคิดและทฤษฎีกระบวนการยอมรับนวัตกรรมของ Roger and Shoemaker (1971) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากกลุ่มพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 12 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม 2563 ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะของนวัตกรรมทั้ง 5 คุณลักษณะ ได้แก่ 1) คุณลักษณะประโยชน์เชิงเปรียบเทียบ (Relative Advantage) ที่มีปัจจัยย่อย คือ คุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ และความคุ้มค่าของผลิตภัณฑ์ 2) คุณลักษณะที่เข้ากันได้ (Compatibility) ที่มีปัจจัยย่อย คือ ความสอดคล้องกับค่านิยมและรูปแบบการใช้ชีวิต 3) คุณลักษณะความยุ่งยากซับซ้อน (Complexity) ที่มีปัจจัยย่อย คือ ความสะดวกต่อการใช้งานและเก็บรักษา 4) คุณลักษณะสามารถทดลองใช้ได้ (Trialability) ที่มีปัจจัยย่อยคือ บูธแสดงสินค้าและชงชิมผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างขนาดทดลอง และ 5) คุณลักษณะสามารถสังเกตได้ (Observability) ที่มีปัจจัยย่อย คือ การบอกคุณประโยชน์บนบรรจุภัณฑ์ มีแนวโน้มส่งผลต่อการยอมรับนวัตกรรมของกลุ่มพยาบาลวิชาชีพ ในขั้นไตร่ตรองหรือประเมินผลมากที่สุด และยังพบว่าคุณลักษณะสามารถทดลองใช้ได้ (Trialability) ที่มีปัจจัยย่อย คือ บูทแสดงสินค้าและชงชิมผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างขนาดทดลอง กับคุณลักษณะสามารถสังเกตได้ (Observability) ที่มีปัจจัยย่อย คือ การบอกคุณประโยชน์บนบรรจุภัณฑ์ มีแนวโน้มส่งผลต่อการยอมรับนวัตกรรมทั้ง 5 ขั้นตอนตามทฤษฎีของ Roger and Shoemaker คือเริ่มต้นจาก 1) ขั้นการรับรู้ (Awareness stage) 2) ขั้นสนใจ (Interest stage) 3) ขั้นไตร่ตรองหรือประเมินผล (Evaluation stage) 4) ขั้นทดลอง (Trial stage) 5) ขั้นการยอมรับและนำไปใช้ (Adoption stage) ตามลำดับ

Title Alternate Innovation adoption of complete nutrition product: a case study of registered nurses in Sunpasitthiprasong hospital, Ubon Ratchathani province