การประเมินความเหมาะสมในการใช้ยาของผู้สูงอายุในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยเกณฑ์ STOPP/START ณ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง

Titleการประเมินความเหมาะสมในการใช้ยาของผู้สูงอายุในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยเกณฑ์ STOPP/START ณ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2564
Authorsประคอง ชิณวงษ์
Degreeเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Keywordsผู้สูงอายุ, เกณฑ์ STOPP/START, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, โรงพยาบาลชุมฃน
Abstract

การวิจัยแบบภาคตัดขวางโดยเก็บข้อมูลย้อนหลังครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาอุบัติการณ์การเกิดความไม่เหมาะสมในการใช้ยา (Potentially Inappropriate Medications, PIMs) การละเลยการสั่งใช้ยา (Potential Prescribing Omissions, PPOs) รวมถึงการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (Adverse Drug Event, ADE) และหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในการเกิด PIMs และ PPOs ในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยการประยุกต์ใช้เครื่องมือจากเกณฑ์ Screening Tool of Older Persons’ Prescriptions/ Screening Tool to Alert to Right Treatment (STOPP/START) ปี 2015 จำนวน 93 ข้อ เก็บข้อมูลจากใบสั่งยา 400 ใบในฐานข้อมูลโปรแกรม Him-pro โรงพยาบาล
ปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ในปีงบประมาณ 2563 ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเป็นเพศหญิง ร้อยละ 55.50 อายุเฉลี่ย 72.33±7.88 ปีมีโรคประจำตัว 2-3 โรค โรคที่พบบ่อย ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไตเรื้อรัง คิดเป็นร้อยละ 64.50 40.75 และ 30.00 ตามลำดับ เข้ารับบริการผู้ป่วยนอกปีละ 4-7 ครั้ง ได้รับยาเฉลี่ย 6.13±2.63 รายการ พบการเกิด PIMs และ PPOs อย่างน้อย 1 รายการต่อใบสั่งยาคิดเป็นร้อยละ 30.50 (122/400) และ 11.75 (47/400) ยาที่สัมพันธ์กับการเกิด PIMs 3 ลำดับแรกคือ lorazepam, aspirin และ omeprazole คิดเป็นร้อยละ 33.37, 11.83 และ 10.65 ของการเกิด PIMs ทั้งหมดตามลำดับ โดยพบ ADE ที่สัมพันธ์กับการเกิด PIMs ร้อยละ 21.30 และกลุ่มยาที่พบการเกิด PPOs 3 ลำดับแรกคือ การไม่ได้รับ ACEIs หรือ ARBs ในผู้ป่วยเบาหวานที่โปรตีนรั่วในปัสสาวะมากกว่า 30 มิลลิกรัมใน 24 ชั่วโมง รองลงมาคือ การไม่ได้รับยา statins และ antiplatelet therapy การศึกษานี้พบว่ารายการยาที่เพิ่มขึ้นเป็น 5-9 รายการโอกาสเกิด PIMs เพิ่มขึ้น 2 เท่า (AdjOR=2.017, 95%CI=1.02-3.98; p-value=0.043) และเมื่อรายการยาเพิ่มเป็น 10-14 รายการโอกาสเกิด PIMs เพิ่มขึ้นเป็น 8.7 เท่า (AdjOR=8.742, 95%CI=3.80-20.10; p-value<0.001) และโรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยที่เพิ่มโอกาส PIMs เพิ่มขึ้น 1.7 เท่า (AdjOR=1.699, 95%CI=1.05-2.75; p-value=0.031) กลุ่มโรคจิตเวชเป็นปัจจัยพบ PIMs ลง 3/4 เท่า (AdjOR=0.221, 95%CI=0.11-0.45; pvalue<0.001) นอกจากนี้พบว่าโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด และการเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในปีละ 1-2 ครั้งเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเพิ่มโอกาสเกิด PPOs ประมาณ 3.9, 2.6 และ 2.1 เท่า (AdjOR=3.898 (95%CI=1.91-7.94; p-value<0.001), 2.582 (95%CI=1.19-5.63; p-value=0.017) และ 2.084 (95%CI=1.03-4.23; p-value=0.042)) ตามลำดับ สรุป: อุบัติการณ์การเกิด PIMs และ PPOs ในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คิดเป็นร้อยละ 6.94 และ 2.32 และยาที่พบ
อุบัติการณ์ในการเกิด PIMs สูงสุดคือ lorazepam ในขณะที่ยา กลุ่ม ACEI หรือ ARB ที่พบการเกิด PPOs สูงสุด ดังนั้นบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องควรหาแนวทางร่วมกันเพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและลดการเกิด PIMs หรือ PPOs ในกลุ่มประชากรผู้สูงอายุซึ่งมีโอกาสที่ต้องใช้ยาหลายขนานร่วมกันในอนาคตต่อไป

Title Alternate Evaluation of appropriateness of drug utilization in elderly patients in non-communicable disease clinic using modified STOPP/START criteria in a community hospital