การหาสภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการนำหัวเชื่อมลวดทองคำมาใช้ซ้ำเพื่อลดต้นทุนในกระบวนการเชื่อมลวดทองคำโดยการออกแบบการทดลอง

Titleการหาสภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการนำหัวเชื่อมลวดทองคำมาใช้ซ้ำเพื่อลดต้นทุนในกระบวนการเชื่อมลวดทองคำโดยการออกแบบการทดลอง
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2564
Authorsฉัตรพล พิมพา
Degreeปรัชญาดุษฎีบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Keywordsกระบวนการเชื่อมลวดทองคำ, กสนารเชื่อมลวดทองคำ, การลดต้นทุน
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอวิธีการและผลการทดลองจากการนำหัวเชื่อมลวดทองคำที่หมดอายุมาใช้ในกระบวนการเชื่อมลวดทองคำของการผลิต IC Packaging โดยใช้การออกแบบการทดลองเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมที่สุดในกระบวนการผลิต ซึ่งงานวิจัยจะศึกษาค่ามาตรฐานของการเชื่อมลวดทองคำ 2 ประเภทคือ ค่าแรงดึงและค่าแรงเฉือน โดยศึกษาปัจจัยที่คาดว่าจะส่งผลต่อมาตรฐานของการเชื่อมลวดทองคำจำนวน 5 ปัจจัย ประกอบด้วย แรงกดในการเชื่อมลวดทองคำ(Bond force) เวลาในการเชื่อมลวดทองคำ (Bond time) ค่าพลังงานที่ใช้ในการสั่นสะเทือนแบบอัลตราโซนิค (USG Power) ค่ากระแสที่ปล่อยผ่าน Electronic Flame Off (EFO) เพื่อหลอมลวดทองคำ (EFO current) และค่าระยะห่างระหว่าง EFO กับลวดทองคำให้ช่วงที่หลอมละลายลวด(EFO gap) ผลจากการวิจัยนั้นแสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อค่ามาตรฐานของการเชื่อมลวดทองคำเมื่อนำหัวเชื่อมลวดทองคำมาใช้ซ้ำจำนวน 1 ปัจจัยคือ แรงกดในการเชื่อมลวดทองคำ (Bond force) สำหรับผลของสภาวะที่เหมาะสมที่สุดของปัจจัยสำหรับค่ามาตรฐานแรงดึงคือ การปรับตั้งค่าแรงกดในการเชื่อมลวดทองคำ (Bond force) เท่ากับ 82 กรัม และเวลาในการเชื่อมลวดทองคำ (Bond time) 2.1 มิลลิวินาที ซึ่งจะทำให้ได้ค่าแรงดึงสูงสุดที่ 23.62 กรัม และผลการหาสภาวะที่เหมาะสมที่สุดของค่ามาตรฐานแรงเฉือนคือ การปรับตั้งค่าแรงกดในการเชื่อมลวดทองคำ(Bond force) เท่ากับ 90 กรัม และเวลาในการเชื่อมลวดทองคำ (Bond time) 1 มิลลิวินาทีค่าพลังงานที่ใช้ในการสั่นสะเทือนแบบอัลตราโซนิค (USG current) 50 มิลลิแอมป์ ค่ากระแสที่ปล่อยผ่าน EFO เพื่อหลอมลวดทองคำ (EFO current) 50 มิลลิแอมป์ และค่าระยะห่างระหว่าง EFO กับลวดทองคำให้ช่วงที่หลอมละลายลวด (EFO gap) 35 ไมครอน ซึ่งจะทำให้ได้ค่าแรงเฉือนสูงสุดที่ 54.13 กรัม โดยผลการใช้สภาวะที่เหมาะสมดังกล่าวนั้นจะทำให้หัวเชื่อมลวดทองคำที่หมดอายุสามารถใช้งานได้มากขึ้นกว่าเดิมร้อยละ 56 โดยที่ไม่ส่งผลต่อคุณภาพของชิ้นงานที่ผลิต

Title Alternate Finding optimal conditions for reuse of the gold wire bonding capillary to reduce production cost in the gold wire bonding process by design of experiment