การพัฒนาคอนกรีตบล็อกมวลเบาแบบเซลลูล่า

Titleการพัฒนาคอนกรีตบล็อกมวลเบาแบบเซลลูล่า
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2561
Authorsมรกต ไชยสัตย์
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTA ม192ก 2561
Keywordsกำลังแรงอัด, คอนกรีตน้ำหนักเบา, คอนกรีตบล็อก, คอนกรีตมวลเบาแบบเซลลูล่า, สารเพิ่มฟองโฟม, อัตราการดูดซึมน้ำ
Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคอนกรีตบล็อกมวลเบาแบบเซลลูล่า โดยหาสัดส่วนผสมที่เหมาะสมในการผลิตคอนกรีตบล็อกมวลเบาให้เป็นไปตามมาตรฐาน มอก.รวมถึงการใช้สารเพิ่มฟองอากาศที่แตกต่างกัน 4 ชนิด โดยใช้ค่าความหนาแน่นเปียกเฉลี่ย 800, 900, 1000 และ 1100 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์เท่ากับ 0.35, 0.40, 0.45, 0.50 และ 0.55 และอัตราส่วนทรายต่อซีเมนต์เท่ากับ 0.75:1, 1:1, 1.25:1 และ 1.5:1 ทำการทดสอบหาค่ากำลังรับแรงอัดและการดูดซึมน้ำของตัวอย่างรูปทรงลูกบาศก์มาตรฐาน ขนาด 15x15x15 เซนติเมตร ที่อายุ 28 วันและ 56 วัน รวมทั้งสิ้น 756 ตัวอย่าง บ่มแห้งในอากาศ ทำการทดสอบ 2 ช่วง โดยช่วงที่ 1 ใช้สารเพิ่มฟองอากาศชนิดเดียวกัน ผลทดสอบพบว่าก้อนตัวอย่างมีค่ากำลังรับแรงอัดระหว่าง 4.64-31.56 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และมีค่าการดูดซึมน้ำระหว่าง 18.88-60.60% โดยมีเพียงก้อนตัวอย่างที่มีหน่วยน้ำหนัก 1,100 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีคุณสมบัติผ่านมาตรฐาน มอก. และช่วงที่ 2 ที่ใช้สารเพิ่มฟองอากาศต่างชนิดกัน ก้อนตัวอย่างมีค่ากำลังรับแรงอัดระหว่าง 14.04–33.98 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร และมีค่าการดูดซึมน้ำระหว่าง 13.71-30.25% พบว่าส่วนผสมที่เหมาะสมและผ่านตามมาตรฐาน มอก. คืออัตราส่วนทรายต่อซีเมนต์ 1:1 อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์อยู่ในช่วง 0.45–0.55 โดยสารเพิ่มฟองอากาศ 1 ใน 4 ชนิด มีความสามารถที่ใช้ทรายเพิ่มขึ้นในอัตราส่วน 1-1.5 เท่า ดังนั้นการปรับปรุงส่วนผสมของคอนกรีตบล็อกมวลเบาให้มีราคาถูกลงจะขึ้นกับสารเพิ่มฟองอากาศด้วย

Title Alternate Development of cellular lightweight concrete block