พัฒนาการของระบบทางเดินอาหารและความต้องการโปรตีนของปลาหลด Macrognathus siamenis (Gunther, 1861)

Titleพัฒนาการของระบบทางเดินอาหารและความต้องการโปรตีนของปลาหลด Macrognathus siamenis (Gunther, 1861)
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2562
Authorsธีระชัย พงศ์จรรยากุล
Degreeปรัชญาดุษฎีบัณฑิต -- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSH ธ663 2562
Keywordsความต้องการโปรตีนของปลาหลด, ปลาหลด -- อวัยวะย่อยอาหาร, ปลาหลด -- อาหาร, ระบบทางเดินอาหารปลาหลด, อาหารปลา, อาหารโปรตีน
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาระบบทางเดินอาหาร โดยการศึกษาสัณฐานวิทยาและทางเนื้อเยื่อของระบบทางเดินอาหาร คุณลักษณะของเอนไซม์ย่อยอาหาร วิธีการปรับเปลี่ยนอาหารและผลการศึกษาความต้องการโปรตีนของปลาหลดขนาดเล็ก Macrognathus siamensis (Gunther, 1861) ผลการศึกษาลูกปลาหลดอายุแรกฟักจนถึงอายุหลังฟัก 40 วัน มีรูปแบบสมการการเจริญเติบโตทวีคูณ (exponential growth) ทางด้านความยาว (Total length, TL) คือ TL=6.307e^0.063x, R^2=0.921 ด้านน้ำหนัก (W) คือ W=3.985e^0.136x, R^2=0.936 สัณฐานวิทยาของระบบทางเดินอาหารลูกปลาอายุหลังฟัก 2 วัน มีถุงสะสมอาหารขนาดใหญ่และหยดน้ำมันทางเดินอาหารวางเป็นท่อตรงสั้น อายุลูกปลาหลังฟัก 3 วัน พบลำไส้เริ่มมีการโค้งงอและถุงสะสมอาหารยุบลงชัดเจน รูทวารเปิดออกโดยสมบูรณ์ พบฟันตำแหน่งขากรรไกรบนและล่างและพร้อมรับอาหารจากภายนอก เกิดส่วนของตับหุ้มบริเวณลำไส้ส่วนต้น ลูกปลาอายุหลังฟัก 9 วัน ทางเดินอาหารขยายตัวเพิ่มขึ้นกระเพาะอาหารงอเป็นมุมแหลมคล้ายรูปตัววี พบส่วนของไส้ติ่งยื่นออกจากส่วนปลายของกระเพาะอาหารทั้งสองข้าว ลำไส้มีการขดม้วนเพิ่มมากขึ้นมีส่วนของลิ้นที่แยกจากลำไส้ส่วนท้ายลูกปลาอายุหลังฟัก 13 วัน กระเพาะอาหารขยายกว้างขึ้นมีรูปทรงเป็นรูปกระสวยโค้งงอเล็กน้อย ลำไส้คดงอคล้ายรูปตัวยูเชื่อมต่อกับส่วนของลำไส้ส่วนท้ายและเปิดออกรูก้น ระบบทางเดินอาหารมีการพัฒนาเกือบสมบูรณ์ ลูกปลาอายุหลังฟัก 17 วัน พบว่า ระบบทางเดินอาหารไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง พบเพียงการขยายขนาดตามการเจริญเติบโตของอวัยวะต่าง ๆ ลักษณะทางเนื้อเยื่อของระบบทางเดินอาหารของลูกปลาอายุหลังฟัก 3 วัน ปรากฏท่อทางเดินอาหารอยู่ด้านบนของถุงสะสมอาหารและพบส่วนของช่องปากแยกจากคอหอยและระบบทางเดินอาหารชัดเจน ลูกปลาอายุหลังฟัก 7 วัน พบส่วนของกระเพาะอาหาร แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนต้น (cardiac) ส่วนกลาง (fundic) และส่วนท้าย (pyloric) โดยเมื่ออายุหลังฟัก 11 วัน เริ่มปรากฏส่วนของต่อมแกสตริก (gastric gland) กระจายอยู่บริเวณกระเพาะอาหารส่วนกลาง เมื่อลูกปลาอายุหลังฟัก 35 วัน การพัฒนาของทางเดินอาหารไม่มีการเปลี่ยนแปลง พบเพียงขนาดที่เพิ่มขึ้นตามอายุของลูกปลาจนสมบูรณ์ เมื่อลูกปลาอายุหลังฟัก 40 วัน การศึกษาคุณลักษณพของเอนไซม์โปรติเอส (protease) อะไมเลส (amylase) และไลเปส (lipase) มีการตรวจพบกิจกรรมของเอนไซม์ทุกชนิดตั้งแต่แรกฟักจนถึงอายุหลังฟัก 40 วัน พบว่า กิจกรรมของเอนไซม์โปรติเอสและอะไมเลสมีแนวโน้มรูปแบบเดียวกัน โดยมีค่าเพิ่มขึ้นตั้งแต่อายุลูกปลาหลังฟัก 1 ถึง 26 วัน และมีค่าเพิ่มสูงสุดที่อายุลูกปลาหลังฟัก 40 วัน ส่วนเอนไซม์ไลเปสตรวจพบมีค่าค่อนข้างต่ำเมื่อเริ่มต้นและมีค่าการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นในช่วงอายุหลังฟัก 1 ถึง 15 วัน และมีค่าการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นสูงสุดที่อายุลูกปลาหลังฟัก 34 วัน ในการปรับเปลี่ยนอาหารลูกปลาที่ เหมาะสมพบว่าการใช้เวลาในการปรับสัดส่วนไรแดงและอาหารสำเร็จรูปเป็นระยะเวลา 30 วัน เป็นรูปแบบที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลาด้วยอาหารสำเร็จรูปเพื่อทดแทนไรแดง ส่วนการศึกษาความต้องการโปรตีนของปลาหลดน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 0.22±0.04 กรัม โดยใช้อาหารทดลองที่มีระดับโปรตีนร้อยละ 35, 40, 45, 50, 55 และ 60 พลังงาน 436-463 กิโลแคลลอรีต่ออาหาร 100 กรัม พบว่า จากการคำนวณความต้องการโปรตีนของปลาหลดพบว่า อาหารที่มีระดับโปรตีนร้อยละ 46.50 เป็นระดับที่ทำให้ปลามีการเจริญเติบโตสูงสุดด้วยวิธีการประเมินความต้องการโปรตีนโดยใช้ broken line regression model

Title Alternate Digestive system development and dietary protein requirement of siamese spiny eel, Macrognathus siamenis (Gunther, 1861)