การปรับปรุงกระบวนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกจาน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

Titleการปรับปรุงกระบวนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกจาน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2563
Authorsขวัญฤทัย ระวัง
Degreeบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Institutionคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHJ ข275 2563
Keywordsการบริหารงบประมาณ, การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ, งบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล, องค์การบริหารส่วนตำบล
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดจากกระบวนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตําบลโคกจาน อําเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานีและเพื่อศึกษาและนําเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหากระบวนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตําบลโคกจาน อําเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานีการศึกษาครั้งนี้เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตําบลโคกจาน จํานวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและร้อยละ ทั้งนี้ได้กําหนดแผนการดําเนินการวิจัยออกเป็น 6 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การศึกษาสภาพปัญหาการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ (2) การสํารวจและจัดลําดับปัญหาการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ (3) การจัดกิจกรรมและสื่อที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ (4) การทดลองนําไปปฏิบัติงานจริง (5) การสํารวจความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับปัญหาการเบิกจ่ายเงินงบประมาณภายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม และ (6) การนําเสนอข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ปัญหาการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ผลการศึกษาพบว่า
1) ปัญหาการเบิกจ่ายเงินงบประมาณด้านค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ =4.23) โดยมีระดับปัญหาเรียงจากมากไปน้อยได้ดังนี้ผู้ขออนุมัติคํานวณอัตราการเบิกจ่ายไม่ถูกต้องทําให้ไม่สามารถวางแผนค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการได้และต้องขออนุมัติเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายภายหลัง มีปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.97) ผู้ขออนุมัติเดินทางไปราชการแจ้งข้อมูลรายละเอียดไม่ชัดเจน เช่น ไม่ระบุวัน เวลา วิธีการเดินทาง ทําให้เกิดความล่าช้าในการปฏิบัติงาน มีปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.92) มีการเบิกจ่ายค่าน้ํามันเชื้อเพลิงกรณีมีการนํารถยนต์ส่วนตัวเดินทางไปราชการ แต่ไม่ได้ขออนุมัติก่อนการเดินทางไปราชการ มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง (μ = 4.41) การยืมเงินทดรองไปราชการ ส่งใช้เงินยืมทดรองไปราชการเกินระยะเวลาที่กําหนด มีปัญหาอยู่ในระดับมาก (μ = 3.56) และผู้ขออนุมัติแนบเอกสารประกอบการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการไม่ครบถ้วน เช่น ไม่ได้แนบต้นเรื่อง หนังสือเชิญ และใบเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง (μ = 3.20)
2) แนวทางการแก้ไขปัญหาการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ได้แก่การจัดกิจกรรมการฝึกอบรมและการจัดทําสื่อ เช่น ผังการทํางาน (Flow chart) และการทดลองปฏิบัติงานจริงเป็นระยะเวลา 1 เดือน ทั้งนี้จากผลการสํารวจความคิดเห็นต่อระดับปัญหาการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ พบว่า ระดับปัญหาหลังการจัดกิจกรรมอบรมและการทดลองปฏิบัติงานจริงน้อยกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอบรมและการทดลองปฏิบัติงานจริง ทั้งนี้ก่อนการจัดกิจกรรมฯ มีผลการประเมินระดับปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด (μ =4.23) และหลังจากจัดกิจกรรมฯ มีผลการประเมินระดับปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง (μ = 2.67)

Title Alternate The improvement of budget disbursement process at the Kokjan subdistrict administrative organization, Trakan Phuet Phon district, Ubon Ratchathani province