กลไกการออกฤทธิ์ของสารสำคัญจากหยีน้ำต่อการเพิ่มจำนวนการเคลื่อนที่และการบุกรุกของเซลล์มะเร็งตับ

Titleกลไกการออกฤทธิ์ของสารสำคัญจากหยีน้ำต่อการเพิ่มจำนวนการเคลื่อนที่และการบุกรุกของเซลล์มะเร็งตับ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2562
Authorsกัลยา แสงฉวี
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ชีวภาพ
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRC ก399ก 2562
Keywordsการรักษามะเร็ง, การรักษาเนื้องอก, มะเร็งตับ, สารต้านเนื้องอก, หยีน้ำ, เคมีบำบัด
Abstract

อัตราการเกิดโรคมะเร็งตับ Hepatocellular carcinoma (HCC) ยังคงสูงอยู่ในหลายประเทศโดยเฉพาะในประเทศไทย ซึ่งการรักษาก็มีความหลากหลายรวมถึงการใช้ยาหลายชนิดในการรักษา HCC อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาเรื่องผลข้างเคียงของยาและการดื้อยาของเซลล์มะเร็งในระหว่างการรักษาซึ่งยังเป็นปัญหาในการรักษา HCC ปัจจุบันการแพทย์ทางเลือกถูกนำมาใช้และเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายซึ่งเป็นอีกแนวหนึ่งในการรักษาโรคมะเร็ง นอกจากนี้ หยีน้ำ Derris indica (Lamk) Bennet ยังเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่พบได้ในทางภาคใต้และถูกนำมาใช้เป็นยาแผนโบราณสำหรับรักษาเนื้องอกในช่องท้องและโรคต่าง ๆ วัตถุประสงค์: 1) เพื่อศึกษาผลของสารสำคัญจากหยีน้ำต่อการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งตับ (HepG2) 2)เพื่อศึกษาการยับยั้งการเคลื่อนที่และการบุกรุกเซลล์ของมะเร็งตับ สาร Candidone ซึ่งเป็นสารสำคัญจาก Derris indica (Lamk) Bennet หรือหยีน้ำต่อกระบวนการเจริญเติบโตในเซลล์มะเร็งตับ ด้วยวิธี MTT (3-(4,5-dimethylthiazol-2-yl)-2,5-diphenyltetrazolium bromide, a tetrazole) assay จากนั้น ศึกษาการเปลี่ยนแปลงลักษณะสัณฐานวิทยาของเซลล์มะเร็งตับผ่าน phase contrast microscope โดยการเกิดการตายเซลล์ นอกจากนี้การวิเคราะห์การแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องโดยวิธี Western blot analysis ด้วยสาร Condidone นอกจากนี้ ศึกษาฤทธิ์ยับยั้งการเคลื่อนที่และการบุกรุกของเซลล์มะเร็งด้วยวิธี Transwell migration assay และ Transwell invation assay ตามลำดับ การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าสาร Candidone ที่ความเข้ม 100 μM ที่เวลา 24 ชั่วโมง มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนเซลล์มะเร็งตับ HepG2 ต่อมา คือ กระบวนการตายของเซลล์ที่ทดสอบด้วยสาร Candidone และเซลล์ที่ไม่ได้รับการทดสอบ จะแตกต่างกันโดย phase contrast แสดงให้เห็นว่าเซลล์ที่ถูกทดสอบด้วยสาร Candidone มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะสัณฐานวิทยา ได้แก่ เซลล์เกิด detachment เกิดเซลล์ shrinkage และเซลล์เกิดการตาย Candidone เหนี่ยวนำให้เกิดกระบวนการตายของเซลล์แบบอะพอพโทซิส ผ่านการกระตุ้นของ caspase-3, caspase-9 และ JNK1/2 นอกจากนี้สาร Candidone มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งตับ โดยยับยั้ง antiapoptotic proteins ประกอบด้วย pp65, pp38, Bcl-2, Bcl-xL, Mcl-1, survivin และ PARP-1 นอกจากนี้สาร Condidone ยังยับยั้งการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่และการบุกรุกของเซลล์มะเร็ง matrix metalloproteinase-9 (MMP-9) และ phosphor-p38 moitogen-activated protein kinases (pp38) ในเซลล์มะเร็งตับ HepG2 ที่ความเข้มข้น 1, 10 μM ที่เวลา 24 ชั่วโมง ในการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า สาร Candidone มีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งซึ่งมีผลต่อการเพิ่มจำนวนเซลล์การเคลื่อนที่และการบุกรุกของเซลล์ HepG2 ผ่านทาง apoptotic pathway การแสดงออกของโปรตีนเหล่านี้ช่วยให้เข้าใจกลไกการออกฤทธิ์ของสาร Candidone ได้ดีขึ้นซึ่งอาจเป็นสารต้านมะเร็งที่มีแนวโน้มในการรัดษาผู้ป่วย HCC ในอนาคต

Title Alternate Mechanism of action of active constituents of Derris indica on proliferation, migration and invasion of hepatocellular carcinoma cells