การตัดสินใจซื้ออะไหล่รถยนต์ของลูกค้า : กรณีศึกษาร้านเสรีชัย อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

Titleการตัดสินใจซื้ออะไหล่รถยนต์ของลูกค้า : กรณีศึกษาร้านเสรีชัย อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2560
Authorsสลิลทิพย์ ขจรเงิน
Degreeบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Institutionคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHD ส373 2560
Keywordsการซื้ออะไหล่รถยนต์, การตัดสินใจซื้อ, ความพึงพอใจของผู้ซื้อ, พฤติกรรมผู้บริโภค, รถยนต์ -- อะไหล่ -- การจัดซื้อ, รถยนต์ -- อะไหล่ -- การตัดสินใจ, ร้านเสรีชัย -- ความพอใจของผู้ใช้บริการ
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล อันประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออะไหล่รถยนต์ ของลูกค้าร้านเสรีชัย อําเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยทางสังคม ปัจจัย ทางวัฒนธรรม และปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีต่อการตัดสินใจซื้ออะไหล่รถยนต์ของลูกค้าร้านเสรีชัย อําเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ และ 3) ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทางวัฒนธรรม และ ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีต่อการตัดสินใจซื้ออะไหล่รถยนต์ของลูกค้าร้านเสรีชัย อําเภอเมือง จังหวัด ศรีสะเกษ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมายที่เป็น ลูกค้าอู่ซ่อม จํานวน 8 คน และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นลูกค้าทั่วไปจํานวน 230 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ Mann-Whitney การทดสอบ Kruskal-Willis การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบSpearman และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัยลูกค้าอู่ซ่อม พบว่า ผู้เข้ามาใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศชาย กลุ่มอายุ 41-45 ปี ระดับ การศึกษาสูงสุดระดับมัธยมศึกษาปลาย/ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 30,001-50,000 บาท โดยมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยทาง สังคมและปัจจัยทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับมาก ส่วนปัจจัยทางวัฒนธรรมอยู่ในระดับปานกลาง และมี ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจซื้ออะไหล่รถยนต์โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อจําแนก ผลเป็นรายด้านพบว่าการประเมินทางเลือกอยู่ในระดับมากที่สุด การตระหนักถึงปัญหาการตัดสินใจซื้อและพฤติกรรมหลังการซื้ออยู่ในระดับมาก ส่วนการหาข้อมูลอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบ ปัจจัยส่วนบุคคลกับการตัดสินใจซื้ออะไหล่รถยนต์ พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด อาชีพ และ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจซื้ออะไหล่รถยนต์ ไม่แตกต่างกัน
ด้านความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทางวัฒนธรรม ปัจจัยทางเศรษฐกิจและ การตัดสินใจซื้ออะไหล่รถยนต์ พบว่า ปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทางวัฒนธรรม และปัจจัยทางเศรษฐกิจ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้ออะไหล่รถยนต์ ส่วนด้านอิทธิพลของปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทาง วัฒนธรรม ปัจจัยทางเศรษฐกิจกับการตัดสินใจซื้ออะไหล่รถยนต์ พบว่า ปัจจัยทางสังคมและปัจจัยทาง เศรษฐกิจ ไม่มีผลกับการตัดสินใจซื้ออะไหล่รถยนต์
ผลการวิจัยลูกค้าทั่วไป พบว่า ผู้เข้ามาใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศชาย กลุ่มอายุมากกว่า 45 ปี ระดับการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรีขึ้นไป ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน อยู่ระหว่าง 10,001-30,000 บาท โดยมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยทางสังคมและปัจจัยทาง เศรษฐกิจอยู่ในระดับมาก ส่วนปัจจัยทางวัฒนธรรมอยู่ในระดับปานกลาง และมีระดับความคิดเห็น เกี่ยวกับการตัดสินใจซื้อฯโดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อจําแนกผลเป็นรายด้าน พบว่า การตระหนัก ถึงปัญหา การประเมนิ ทางเลือก การตัดสินใจซื้อ และพฤติกรรมหลังการซื้ออยู่ในระดับมาก ส่วนการหา ข้อมูลอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการตัดสินใจซื้ออะไหล่รถยนต์ พบว่า อายุ และระดับการศึกษาสูงสุดที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจซื้ออะไหล่รถยนต์ แตกต่างกันอย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01 ตามลําดับ แต่เพศ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจซื้ออะไหล่รถยนต์ ไม่แตกต่างกัน
ด้านความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทางวัฒนธรรม ปัจจัยทางเศรษฐกิจและ การตัดสินใจซื้ออะไหล่รถยนต์ พบว่า ปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทางวัฒนธรรมและปัจจัยทางเศรษฐกิจ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้ออะไหล่รถยนต์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนด้าน อิทธิพลของปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทางวัฒนธรรม ปัจจัยทางเศรษฐกิจกับการตัดสินใจซื้อ พบว่า ปัจจัยทางสังคมและปัจจัยทางเศรษฐกิจมีผลกับการตัดสินใจซื้อของลูกค้า อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 ส่วนปัจจัยทางวัฒนธรรมมีผลกับการตัดสินใจซื้อของลูกค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 โดยสมการทํานายในรูปคะแนนดิบ คือ การตัดสินใจซื้อ = 1.52**ค่าคงที่+0.33**ปัจจัย ทางสังคม+0.07*ปัจจัยทางวัฒนธรรม +0.19**ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ส่วนสมการในรูปคะแนน มาตรฐาน คือ การตัดสินใจซื้อ = 0.43**ปัจจัยทางสังคม+0.12*ปัจจัยทางวัฒนธรรม+0.31**ปัจจัย ทางเศรษฐกิจ

Title Alternate Purchasing decision-making of automobile parts: a case study of Sereehai Shop, Mueang District, Si Saket Province