การศึกษาสภาวะทางการเงินของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มจังหวัดอุบลราชธานี

Titleการศึกษาสภาวะทางการเงินของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มจังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2561
Authorsวีระชัย ผ่องบุรุษ
Degreeบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Institutionคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHG ว844 2561
Keywordsการจัดการธุรกิจ, การจัดการร้านอาหาร, การเงิน, การเงิน -- การจัดการ, ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม, อาหาร -- การจัดการ, เครื่องดื่ม
Abstract

การวิจัยคร้ังนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราส่วนทางการเงินและสภาวะทางการเงินของธุรกิจ อาหารและเครื่องดื่มในจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจ การค้า (DBD) ซึ่งจะใช้ข้อมูลงบแสดงฐานะทางการเงินและงบกําไรขาดทุนเป็นรายปี พ.ศ. 2557 -2559 รวมระยะเวลา 3 ปี จํานวน 58 กิจการ หลังจากเก็บข้อมูลจากงบการเงินแล้ว จะนํามาวิเคราะห์ อัตราส่วนทางการเงิน ตัวแบบ Altman’s Z-Score Model ได้แก่ 1) อัตราส่วนความคล่องตัว 2) เงินทุนสะสมจากแหล่งภายใน 3) ความสามารถในการทํากําไร 4) สัดส่วนโครงสร้างทางการเงิน และ 5) ประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ อีกทั้งได้มีการใช้โปรแกรมสถิติสําเร็จรูป โดยมีการหาค่า แจกแจงความถี่ ร้อยละค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ ค่าสูงสุด และค่าต่ําสุด
จากการศึกษาพบว่าอัตราส่วนทางการเงินของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในจังหวัดอุบลราชธานี ผลการวิจัยพบว่า ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในจังหวัดอุบลราชธานีนั้น สามารถแบ่งขนาดธุรกิจ ออกเป็นทั้ง 3 ขนาด คือ ธุรกิจรายย่อย (Micro business) ธุรกิจขนาดย่อม (Small business) และ ธุรกิจขนาดกลาง (Medium business) โดยธุรกิจรายย่อยส่วนใหญ่จะมีอัตราส่วนทางการเงินโดดเด่น คือ อัตราส่วนความคล่องตัวและสัดส่วนโครงสร้างทางการเงิน คิดเป็นประมาณร้อยละ 80 ธุรกิจขนาด ย่อมส่วนใหญ่จะมีอัตราส่วนทางการเงินโดดเด่น คือ สัดส่วนโครงสร้างทางการเงินและประสิทธิภาพ ในการบริหารสินทรัพย์ คิดเป็นประมาณร้อยละ 50 และธุรกิจขนาดกลางส่วนใหญ่จะมีอัตราส่วนทาง การเงินโดดเด่น คือ อัตราส่วนความคล่องตัวและประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ คิดเป็น ประมาณร้อยละ 70
สภาวะทางการเงินของธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในจังหวัดอุบลราชธานี ผลการวิจัยพบว่า ธุรกิจ อาหารและเครื่องดื่มในจังหวัดอุบลราชธานี โดยธุรกิจรายย่อยส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจที่มีความมั่นคงสูง (Safe Zone) คิดเป็นประมาณร้อยละ 80 ธุรกิจขนาดย่อมเป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง (Safe Zone) ประมาณร้อยละ 50 มีแนวโน้มลดลงในแต่ละปี และธุรกิจขนาดกลางส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคงสูง (SafeZone)ประมาณร้อยละ65มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

Title Alternate The study of financial position of the food and beverage industry in Ubon Rachathani Province