กระบวนการปรับตัวทางวัฒนธรรมของนักศึกษาลาวและกัมพูชาในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Titleกระบวนการปรับตัวทางวัฒนธรรมของนักศึกษาลาวและกัมพูชาในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2558
Authorsสุรศักดิ์ บุญอาจ
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberBF335 ส854ร 2558
Keywordsการปรับตัว(จิตวิทยา), การปรับตัวทางสังคม, การสื่อสาร -- แง่สังคม, การสื่อสารกับวัฒนธรรม, การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม, ทักษะทางสังคม, นักศึกษาต่างชาติ, สังคมวิทยา
Abstract

งานวิจัยเรื่อง “กระบวนการปรับตัวทางวัฒนธรรมของนักศึกษาชาวลาวและชาวกัมพูชา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงกระบวนการปรับตัวทางวัฒนธรรมองค์ประกอบที่มีส่วนช่วยในการปรับตัวทางวัฒนธรรม และแนวทางในการปรับตัวทางวัฒนธรรมใหม่ของนักศึกษาชาวลาวและชาวกัมพูชาในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รูปแบบงานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ มีการสำรวจด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่าง คือ (1) กลุ่มนักศึกษาชาวลาวและชาวกัมพูชาที่กำลังศึกษาในระหว่างปีการศึกษา 2553-2557 ทั้งในระดับปริญญาบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต จำนวนทั้งหมด 25 คน แบ่งออกเป็นนักศึกษษชาวลาว จำนวน 17 คน และนักศึกษาชาวกัมพูชา จำนวน 8 คน และ (2) กลุ่มผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนักศึกษาชาวลาวและชาวกัมพูชา จำนวน 5 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 30 คน ผลการวิจัยพบว่า
1.กระบวนการปรับตัวทางวัฒนธรรม โดยภาพรวม พบว่า ส่วนใหญ่มีการรักษาอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ตนเองไว้ และในขณะเดียวกันก็มีการปรับรับเอาวัฒนธรรมไทยมาด้วย ส่วนระดับขั้นตอนในการปรับตัวของนักศึกษาชาวลาว พบว่า โดยส่วนใหญ่เมื่ออยู่เมืองไทยมาสักระยะหนึ่ง รู้สึกปรับตัวได้มากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของการใช้ภาษาไทยทำให้นักศึกษาสื่อสารได้อย่างมั่นใจ และรู้สึกว่าประเทศไทยเป็นเสมือนบ้านของตนเอง ส่วนระดับขั้นตอนในการปรับตัวของนักศึกษาชาวกัมพูชา พบว่า โดยส่วนใหญ่เพิ่งเข้ามาอยู่ในประเทศไทยได้ไม่นาน จึงรู้สึกตื่นเต้นถึงความแปลกใหม่ของสภาพแวดล้อม สถานการณ์ใหม่ ๆ ทั้งวัฒนธรรม ผู้คน และการบริโภค
2.องค์ประกอบที่มีส่วนช่วยในการปรับตัวทางวัฒนธรรม ได้แก่ (1) พื้นฐาน/ลักษณะส่วนบุคคลที่ติดตัวและเตรียมตัวไว้ล่วงหน้า เช่น ภูมิหลัง บุคลิกนิสัย ความคาดหวัง ระดับการเตรียมตัว และทักษะการสื่อสารและการใช้ภาษา (2) สภาพแวดล้อมของสังคมและประเทศเจ้าบ้าน เช่น ลักษณะวัฒนธรรมไทยที่มีความผ่อนปรน ยืดหยุ่น ความประทับใจแรกพบต่อวัฒนธรรมไทย การช่วยเหลือและสนับสนุนจากกลุ่มคนในสังคมไทย การรับรองอย่างเป็นทางการของทางหน่วยงานรัฐบาลไทย โอกาศของการทำกิจกรรมร่วมกัน และความถี่ในการสื่อสารกับชาวไทย (3) บทบาทของสื่อมวลชลเพื่อเป็นแหล่งข้อมูล และเป็นที่ระบายอารมณ์ ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้มีส่วนช่วยให้นักศึกษาชาวลาวและชาวกัมพูชาแต่ละคนปรับตัวทางวัฒนธรรมได้แตกต่างกัน
3. แนวทางในการปรับตัวทางวัฒนธรรมใหม่ ได้แก่ (1) การเรียนรู้ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ด้วยตนเองด้วยการสืบค้นข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ข้อมูลของที่พักอาศัย และข้อมูลของการใช้ภาษาไทย (2) บุคคลต่างวัฒนธรรมในฐานะคู่สื่อสาร คือ สื่อบุคคล/หน่วยงานที่นักศึกษาเปิดรับ พบว่า นักศึกษาชาวลาวเลือกที่จะสื่อสารเรื่องการเรียนกับเพื่อนชาวไทย และจะสื่อสารเรื่องการใช้ชีวิตกับเพื่อนชาวลาว ส่วนนักศึกษาชาวกัมพูชามีการสื่อสารและสนิทสนมกันเฉพาะภายในกลุ่มนักศึกษาชาวกัมพูชามากกว่า จึงทำให้มีเวลากับคนไทยไม่มากพอทีจะมีโอกาสได้เรียนรู้ทางวัฒนธรรม ส่วนการปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์/บุคลากรของหน่วยงานวิเทศสัมพันธ์ จะมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยในการปรับตัวทั้งในเรื่องการเรียน และการใช้ชีวิต (3) การเปิดรับสื่อมวลชนไทย ได้แก่ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ละคร เพลง ภาพยนตร์ และสื่อใหม่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับตัว เป็นข้อมูลการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและให้ความเพลิดเพลิน

Title Alternate Intercultural adaptation process of Laos and Cambodian students in Ubon Ratchathani University