การขยายพันธุ์สภาพปลอดเชื้อและการศึกษาสารพฤกษเคมีในว่านเพชรหึง

Titleการขยายพันธุ์สภาพปลอดเชื้อและการศึกษาสารพฤกษเคมีในว่านเพชรหึง
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2561
Authorsเยาวลักษณ์ ฉัตรสุวรรณ์
Degreeวิทยศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSB ย547 2561
Keywordsกล้วยไม้ -- การเลี้ยง, กล้วยไม้ว่านเพชรหึง, การขยายพันธุ์กล้วยไม้, การงอกของเมล็ด, การปลูกกล้วยไม้, การเลี้ยงกล้วยไม้
Abstract

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการขยายพันธุ์ว่านเพชรหึงในสภาพปลอดเชื้อ ตั้งแต่การเพาะเมล็ด การพัฒนาของโปรโตคอร์มจนเป็นต้นอ่อน การนำต้นออกปลูกเพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์ ด้านฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์แอลฟา- กลูโคซิเดสและการต้านอนุมูลอิสระ ผลการศึกษาพบว่า เมล็ดที่เพาะเลี้ยงบนอาหาร VW ที่เติมผงมันฝรั่ง +น้ำมะพร้าว และระดับความเข้มข้นของน้ำตาลซูโครส 0-20 ก./ล. ที่เพาะเลี้ยงในสภาพมืด /แสง เมล็ดมีเปอร์เซ็นต์การงอกและการพัฒนาที่ดี ส่วนการเพาะเลี้ยงโปรโตคอร์ม พบว่า โปรโตคอร์มระยะใบ 2 ใบ เมื่อนำมาเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร VW ที่เติมกล้วยหอมบด+น้ำมะพร้าว และอาหารที่เติมกล้วยหอมบด+ผงมันฝรั่ง+น้ำมะพร้าว ที่ระดับ ความเข้มข้นของน้ำตาลซูโครสที่ความเข้มข้น 10 – 30 ก./ล. มีความเหมาะสมต่อการพัฒนาของโปรโตคอร์ม การศึกษาการเก็บรักษาเมล็ด พบว่า เมล็ดที่เก็บในอุณหภูมิ 25 °C สามารถเก็บรักษาได้ ถึง 270 วัน โดยมีเปอร์เซ็นต์ความมีชีวิต 84.75% และมีเปอร์เซ็นต์การงอก 83.19% อีกทั้งมีการพัฒนาเป็นโปรโตคอร์มระยะ S5 (โปรโตคอร์มมีใบ 2 ใบ) 38.25% การศึกษากายวิภาคของเมล็ดและโปรโตคอร์มของว่านเพชรหึง พบว่า เอ็มบริโอมีการแบ่งเซลล์แล้วพัฒนาเป็นโปรโตคอร์ม โปรโตคอร์ม มีการพัฒนาของกลุ่มเนื้อเยื่อเจริญ จากนั้นเนื้อเยื่อเจริญพัฒนาเป็นส่วนยอดและมีกลุ่มท่อลำเลียง การศึกษาวัสดุปลูกที่มีความเหมาะสมต่อการย้ายออกปลูก พบว่าการใช้วัสดุปลูก คือกาบมะพร้าวสับ หรือสแฟกนัมมอส ทําให้ต้นอ่อนมีการเจริญเติบโตที่ดีในทุกด้าน การศึกษาฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์แอลฟา-กลูโคซิเดสและการต้านอนุมูลอิสระในสารสกัดจากส่วน ต่าง ๆ ของต้นที่มีอายุต่างกัน ทั้งตัวอย่างสดและตัวอย่างแห้ง พบว่าส่วนเหง้า +ราก ของว่านเพชรหึง อายุ 6 ปี มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟา- กลูโคซิเดสอยู่ที่ 84.88 และ 85.47% ของตัวอย่างสดและ ตัวอย่างแห้ง ตามลำดับ และมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟา -กลูโคซิเดสที่ 50% (IC50) ที่ความเข้มข้น 443.53 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร เมื่อเทียบกับสารมาตรฐาน Acarbose มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอลฟา-กลูโคซิเดส คิดร้อยละ 94 และมีค่า IC50 ที่ความเข้มข้น 390.42 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ส่วนการทดสอบกิจกรรมต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH พบว่า ตัวอย่างสดของต้นอายุ 6 ปี ส่วนใบและ เหง้า+ราก มีการต้านอนุมูลอิสระ อยู่ที่ 77.68 และ 76.95 % ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างจากสาร มาตรฐาน Trolox ที่มีการต้านอนุมูลอิสระอยู่ที่ 83.85% และมีค่า IC50 ที่ความเข้มข้น 32.07 17.87 และ 7.43 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ

Title Alternate Micropropagation and phytochemical study of Grammatophyllum speciosum blume