การเพาะเลี้ยงต้นอ่อนและข้อกล้วยไม้เอื้องช้างน้าว (Dendrobium pulchellum Roxb. ex Lindl.)

Titleการเพาะเลี้ยงต้นอ่อนและข้อกล้วยไม้เอื้องช้างน้าว (Dendrobium pulchellum Roxb. ex Lindl.)
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2561
Authorsภาณุกรณ์ บุญสิทธิ์
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQK ภ431ก 2561
Keywordsกล้วยไม้ -- การขยายพันธุ์, กล้วยไม้เอื้องช้างน้าว, การเพาะเลี้ยงต้นอ่อน, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของสารควบคุมการเจริญเติบโต BA NAA น้ำตาลซูโครส อาหารเสริม (มันฝรั่ง 50 กรัมต่อลิตร กล้วยหอมบด 50 กรัมต่อลิตร และน้ำมะพร้าว 150 มิลลิลิตรต่อลิตร) ต่อการเจริญเติบโตของต้นอ่อนเอื้องช้างน้าว และอิทธิพลของ BA ต่อการ เพาะเลี้ยงข้อกล้วยไม้เอื้องช้างน้าว เป็นเวลา 12 สัปดาห์ เมื่อเพาะเลี้ยงต้นอ่อนบนอาหารสูตร ½MS ที่เติม BA 0, 1, 2 และ 4 มิลลิกรัมต่อลิตรร่วมกับ NAA 0, 0.5 และ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ที่เติมและไม่เติมอาหารเสริม พบว่า สูตรที่ไม่เติมอาหารเสริมส่งผลให้มีจำนวนต้นต่อขวด ความสูงของต้น และเส้นผ่านศูนย์กลางกอ ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) การศึกษาอิทธิพลระดับน้ำตาลซูโครสความเข้มข้นต่าง ๆ ต่อการเจริญเติบโตของต้นอ่อนกล้วยไม้เอื้องช้างน้าว โดยเลี้ยงต้นอ่อนบนอาหาร 1/2MS ที่เติมน้ำตาลซูโครส 0, 10, 20, 30, 40 และ 50 กรัมต่อลิตร ที่เติมและไม่เติมอาหารเสริม พบว่าต้นอ่อนที่เลี้ยงบนอาหารที่มีน้ำตาลความเข้มข้นต่าง ๆ ที่ไม่เติมอาหารเสริมส่งผลให้มีจำนวนต้นต่อขวด ความสูงของต้น เส้นผ่านศูนย์กลางกอ จำนวนราก และความยาวรากมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ส่วนสูตรที่เติมอาหารเสริมนั้นส่งผลให้มีจำนวนต้นต่อขวดความสูงของต้น และจำนวนรากมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ส่วนเส้นผ่านศูนย์กลางกอ และความยาวรากไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05) และการศึกษาความเข้มข้นของ BA (2.5, 5 และ 10 มิลลิกรัมต่อลิตร) ต่อการเพาะเลี้ยงข้อกล้วยไม้เอื้องช้างน้าว โดยแบ่งชิ้นส่วนข้อ ออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนโคน ส่วนกลาง และส่วนปลาย พบว่าชิ้นส่วนของข้อกล้วยไม้และความเข้มข้นของ BA มีอิทธิพลต่อจำนวนต้น ความสูงต้น จำนวนราก ความยาวราก และจำนวนใบอย่างไม่มีนัยสำคัญ (p>0.05)

Title Alternate Seedling and node culture of Dendrobium pulchellum Roxb. ex Lindl. in vitro